โคจรและอโคจรสำหรับพระภิกษุสงฆ์ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 73
หน้าที่ 73 / 93

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับโคจรที่พระภิกษุควรเข้าไปอาศัย รักษา และใส่ใจ โดยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) โคจรที่ควรเข้าไปอาศัย เช่น กัลยาณมิตรที่ดี 2) โคจรที่ควรรักษา เช่น มรรยาทที่ดีงาม และ 3) โคจรที่ควรใส่ใจ เช่น สติปัฏฐาน 4 ที่ช่วยในการพัฒนาจิตใจและการหลุดพ้นจากทุกข์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-โคจรที่ควรเข้าไปอาศัย
-โคจรที่ควรรักษา
-โคจรที่ควรใส่ใจ
-สติปัฏฐาน 4
-การประพฤติพรหมจรรย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

โคจรและอโคจรสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โคจร" หมายถึง บุคคลหรือสถานที่ซึ่งพระภิกษุควรไปมาหาสู่ หรือสิ่งที่พระภิกษุควรเข้าไป เกี่ยวข้อง พระภิกษุที่ตั้งอยู่ในโคจรควรเข้าไปเฉพาะที่ที่ควรไปเท่านั้น เช่นสถานที่ หรือบุคคลที่อำนวย ประโยชน์ต่อการศึกษา ค้นคว้าหรือการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุโดยตรง โคจรแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. โคจรที่ควรเข้าไปอาศัย 2. โคจรที่ควรรักษา 3. โคจรที่ควรใส่ใจ 1. โคจรที่ควรเข้าไปอาศัย หมายถึง กัลยาณมิตรที่ถึงพร้อม ด้วยกถาวัตถุ 10 ประการ ดังจะกล่าวถึงต่อไป 2. โคจรที่ควรรักษา หมายถึงมรรยาทหรืออาจาระที่ดีงามของพระภิกษุ เช่น การเดินสงบเสงี่ยม สายตาทอดลงต่ำ ไม่เหลียวซ้ายแลขวา ดูหญิงดูชาย หรือสิ่งของต่างๆ จนปราศจากความสำรวม 3. โคจรที่ควรใส่ใจ คือที่ที่ใจควรเที่ยวไป ในที่นี้ท่านหมายถึงสติปัฏฐาน 4 คือ 1) กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึงการตั้งสติตามเห็นกายในกายหรือกายต่างๆ ที่ซ้อนกัน อยู่ในกายมนุษย์นี้ นับตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน จนกระทั่งถึงกายธรรมระดับต่างๆ 2) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึงการตั้งสติตามเห็นเวทนาในเวทนา คือ ความรู้สึกสุขทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ของกายต่างๆ ที่ซ้อนกันอยู่ในกายมนุษย์นี้ 3) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึงการตั้งสติตามเห็นจิตในจิต คือดวงจิตของกายต่างๆ ที่ซ้อนกันอยู่ในกายมนุษย์ 4) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึงการตั้งสติตามเห็นธรรมในธรรม คือดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายต่างๆ ตั้งแต่กายมนุษย์จนถึงกายธรรม * เผด็จ ทตตชีโว พระภาวนาวิริยคุณ, พระแท้, (กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิธรรมกาย, 2540), หน้า 137 * ส. ธรรมภักดี (นามแฝง), พระวิสุทธิมรรค เผด็จ เล่ม 1, (กรุงเทพมหานคร : ลูก ส.ธรรมภักดี, 2525) หน้า 25. 64 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More