ความหมายและความสำคัญของคำว่า สัมมาอะระหัง MD 102 สมาธิ 2 หน้า 61
หน้าที่ 61 / 93

สรุปเนื้อหา

สัมมาอะระหังเป็นคำที่สำคัญในพุทธศาสนา มีความหมายถึงการทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม และห่างไกลจากสิ่งชั่วร้าย โดยคำนี้สืบทอดกันมายาวนาน การเข้าใจความหมายจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติทำตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แสดงถึงความบริสุทธิ์และการพ้นจากกิเลส คำว่า 'สัมมา' แปลว่า ถูกต้อง ดีงาม ขณะที่ 'อะระหัง' หมายถึง ไกลจากสิ่งไม่ดี คำนี้สื่อถึงความสำคัญที่ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเพื่อการเจริญสมาธิและความสงบในจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสัมมาอะระหัง
-การใช้งานในพุทธศาสนา
-คำบาลีที่เกี่ยวข้อง
-การเจริญสมาธิและการพ้นจากกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สัมมาอะระหังเป็นถ้อยคำที่ศักดิ์สิทธิ์ สืบทอดกันมายาวนานเป็นพันปี ให้ไว้สำหรับผู้มีบุญ ในกาล ก่อน กว่าจะได้คำนี้มา จะได้ด้วยความยากลำบาก ต้องบอกกันแบบมีพิธีการมาก เพื่อให้รู้คุณค่า ของ คำๆ นี้ ความหมายของคำว่า สัมมาอะระหัง 1. สัมมาอะระหัง เป็นคำสากลที่ใช้ได้กับทุกคนในโลก โดยไม่ขัดแย้งกับความเชื่อใดๆ คำว่าสัมมา แปลว่า ถูกต้อง ดีงาม ที่ถูกที่ชอบ เช่น มีความเห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม อะระหัง แปลว่า ห่างไกลจากสิ่งชั่วร้าย ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความโกรธ ความโศกเศร้า ความคับแค้นใจ ความร่ำพิไรรำพัน ความอาลัย หรือห่างไกลจากบาปอกุศล สัมมาอะระหัง จึงแปลรวมๆ ว่า ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม และไกลจากสิ่งชั่วร้าย จากบาปอกุศล ความโลภ ความโกรธ ความหลง 2. คำว่าสัมมาอะระหัง เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ 2 ศัพท์คือ สัมมาคำหนึ่ง กับอะระหัง คำหนึ่ง 2.1 สัมมาเป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบ ดีงาม ถูกต้อง ในพระพุทธคุณ 9 บท ท่านเอาศัพท์ นี้เข้าคู่กับสัมพุทโธ เป็นสัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบท พุทธคุณแล้วยังใช้ ในอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วย โดยมีคำว่า “สัมมา” ควบองค์มรรค อยู่ทุกข้อเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ทำให้ความหมายของมรรค 8 หมายถึง ถูกต้อง สิ่งที่ดีงาม ตั้งแต่เห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก เป็นต้นเรื่อยไป 2.2 ส่วนศัพท์ว่า อะระหัง เป็นพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อรวมเป็นสัมมาอะระหัง จึงแปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ นอกจากนี้ อะระหัง ยังแปลว่าไกลจากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย หมายถึง ไกลจากกิเลส คือ กิเลสไป ไกลๆ เพราะใจของเราห่างจากกิเลส ห่างจากความมืด ห่างจากความทุกข์ทรมาน ห่างจากความเลว ห่างจากสิ่งไม่ดี มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ จึงได้ชื่อว่า อะระหัง คือ มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ ไม่มีสิ่งที่ เป็นมลทินเข้าไปเจือปนเลยแม้แต่นิดเดียว ถ้าเป็นเพชร ก็เป็นเพชรที่ใส ไม่มีมลทิน ไม่มีขีด ไม่มีข่วน ไม่มีไฝฝ้า เป็นเพชรที่ใสทั้งเนื้อทั้งแววทั้งสี สวยงามไม่มีที่ติทีเดียว คำว่า อะระหัง นี้ยังเป็นคำแทนของพระธรรมกาย ซึ่งเป็นผู้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ทั้งหลาย เป็นผู้รู้แจ้งเพราะเห็นแจ้ง ญาณทัศนะเกิด เพราะว่ามีธรรมจักขุมองเห็นสว่างไสว เห็นถึงไหน รู้ถึงนั่น เป็นผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่งัวเงีย ไม่เหมือนอยู่ในโลกของความฝัน ตื่นมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง 52 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More