ข้อความต้นฉบับในหน้า
นั่งอย่างไรก็ได้ โดยมีจุดสำคัญอยู่ที่ว่าให้ท่านั่งอยู่ในอิริยาบถที่สบาย เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก
แต่อย่าให้สบายเกินไปจนเป็นเหตุให้หลับ เช่น นั่งเหยียดขา หรือกึ่งนั่ง กึ่งนอน เพราะจะทำให้
ล้มตัวลงนอนได้ในที่สุด หรือทำให้ลำบากเกินไปจนทำให้เกิดความลำบากในการนั่ง อย่างไรก็ตาม
ถ้าเรารักษาท่านั่งขัดสมาธิแบบมาตรฐานไว้ได้ เมื่อใจเราเป็นสมาธิแล้ว ท่านี้จะเป็นท่าที่เหมาะสมที่สุด
2.5 ประโยชน์จากการปรับร่างกายได้เหมาะสม
1. การขยับตัวเมื่อขยับให้ดี จะทำให้ไม่ปวด ไม่เมื่อย รู้สึกพอดีๆ มีความรู้สึกขึ้นมาในใจ
ว่ามั่นคง จะนั่งไปยาวนานแค่ไหนก็ได้ และทำให้ไม่มีความรู้สึกว่าฝืนนั่ง หรือพยายามที่จะนั่ง รู้สึกสบายๆ
2. การปรับร่างกาย ถ้าพยายามทำความเข้าใจให้ดี ทุกขั้นตอน จะทำให้เกิดผลของการปฏิบัติ
อย่างที่ปรารถนาไว้ ถ้าหากว่าเริ่มต้นได้ถูกต้องแล้ว เมื่อนำไปทำเองในภายหลังก็จะทำให้ถึงที่หมายได้
อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
2.6 ผลเสียจากการไม่ปรับร่างกายให้เหมาะสม
1. ถ้าขยับเนื้อขยับตัวไม่ดี นั่งขึงขังเอาจริงเอาจัง จะทำให้กล้ามเนื้อของร่างกายเกร็ง เครียด และ
ปฏิบัติได้ผลล่าช้า ทำให้เสียเวลา ได้แต่ความอดทนแต่ไม่เข้าถึงธรรม
2. การปรับกายเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าดูเบาว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย อาจจะกลายเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ทีเดียว
โดยเฉพาะการหลับตาให้เป็นกับการขยับเนื้อขยับตัวปรับร่างกายของเราให้อยู่ในท่านั่งที่สะดวกสบาย
เพื่อให้เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก ถ้าทำตรงนี้ยังไม่ได้ จะมีผลทำให้การเข้าถึงธรรมล่าช้า
3. ถ้ามองผ่านเรื่องการปรับกาย คือหากมองข้ามคำแนะนำเบื้องต้นเหล่านี้ จะทำให้เกิดผลเสีย
ต่อไปในอนาคต คือไม่ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงสมาธิ
กิจกรรม
หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 2 การปรับกาย จบโดยสมบูรณ์แล้ว
โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 2 และกิจกรรม 1 และ 2 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 2
แล้วจึงศึกษาบทที่ 3 ต่อไป
22 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า