การใช้คำภาวนาในสมาธิ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 59
หน้าที่ 59 / 93

สรุปเนื้อหา

บทที่ 5 นี้จะกล่าวถึงความหมายและความสำคัญของการใช้คำภาวนาในขณะทำสมาธิ โดยเฉพาะในเวลาที่จิตใจวุ่นวายและฟุ้งซ่าน เมื่อใช้คำภาวนาจะช่วยให้ใจมุ่งมั่นและเกาะอยู่ที่ศูนย์กลางกายได้ดียิ่งขึ้น การบริกรรมหรือการนึกถึงคำภาวนาอย่างต่อเนื่องจะทำให้จิตใจมีความมั่นคงและช่วยเชื่อมโยงกับตัวเองมากขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้รับความสุขทั้งกายและใจ ขอเชิญศึกษาการใช้คำภาวนาเพื่อนำไปใช้ในการฝึกฝนสมาธิในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของการภาวนา
-ความสำคัญของการภาวนา
-การบริกรรมภาวนา
-การทำสมาธิอย่างมีประสิทธิภาพ
-จิตใจและการควบคุมสติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 5 การใช้คำภาวนา โดยปกติในเวลาทำสมาธิ เรามักจะพบกับใจที่ยังมีสภาพซัดส่าย และคิดไปในเรื่องราวต่างๆ ความคิดที่ปรากฏออกมาพร้อมกับใจที่ซัดส่าย บางครั้งก็เป็นภาพคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือ บางครั้งก็ เป็นเสียงต่างๆ ปรากฏขึ้นมากมาย ในการปฏิบัติสมาธิเพื่อให้ใจของเราสงบนั้น กรณีที่เป็นภาพความคิด ปรากฏเกิดขึ้น ได้แนะนำไว้ในบทเรียนที่แล้วว่าให้ใช้การนึกนิมิต สำหรับในกรณีของความคิดที่เผยตัวออก มาเป็นเสียงนั้น พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีได้ แนะนำให้ใช้วิธีการภาวนาเพื่อช่วยทำให้ใจของเรา สงบหยุดนิ่งได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรจะได้ศึกษา เรียนรู้การภาวนาเพื่อนำไปใช้ฝึกปฏิบัติในขณะทำสมาธิ 5.1 ความหมายของการภาวนา ภาวนา" แปลว่า ธรรมที่ควรกระทำให้เจริญขึ้น คือให้เกิดขึ้นบ่อยๆ ในสันดานของตน วิเคราะห์ตามศัพท์พระบาลีท่านว่า “ภาเวตัพพาติ = ภาวนา” แปลความว่า ธรรมที่บัณฑิต ทั้งหลายจึงทำให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และครั้งหลังๆ ให้ติดต่อกันเป็นนิจ จนถึงเจริญขึ้น ข้างต้นที่ท่านแปลอย่างนี้ก็เพราะภาวนาเป็นธรรมที่อำนวยประโยชน์ให้ผู้กระทำได้รับความสุขกาย สุขใจ ทั้งในภพนี้และภพหน้า ตลอดจนกระทั่งพ้นจากวัฏฏสงสาร ดังนั้นการใช้คำภาวนา หรือที่เรียกว่า “การบริกรรมภาวนา” ก็คือ การนึกถึงคำภาวนาอย่างต่อเนื่อง เป็นการนึกถึงถ้อยคำที่เป็นเสียงดังละเอียดอ่อนขึ้นมาในใจ 5.2 ความสำคัญของการภาวนา การภาวนาโดยปกติมักจะใช้ควบคู่กับการนึกนิมิต เพื่อช่วยให้ใจไม่สับสน ฟุ้งซ่าน เพราะการภาวนา จะช่วยส่งเสริมใจให้เกาะเกี่ยวติดแน่นอยู่กับศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ได้อย่างมั่นคงและต่อเนื่อง ถ้าจะเปรียบ ก็คือ คำภาวนานั้นเหมือนเรือหรือแพที่นำบุคคลข้ามฝั่ง นอกจากนี้ในการทำภาวนาจะช่วยทำให้ใจมาอยู่ กับเนื้อกับตัว ทำให้ใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกายของเรา * อุบาสิกาถวิล (บุญทรง) วัติรางกูล, เราคือใคร, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, 2530, หน้า 223 50 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More