การนึกนิมิตและวิธีการปฏิบัติ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 54
หน้าที่ 54 / 93

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเสนอวิธีการนึกนิมิตโดยการวางใจเฉยๆ และการระดมพลังใจเพื่อให้ได้ผลในการปฏิบัติธรรม รวมถึงแนวทางการแก้ไขเมื่อไม่สามารถนึกนิมิตได้ เมื่อผู้ปฏิบัติธรรมมีอารมณ์หยาบหรือไม่คุ้นเคยกับองค์พระ วิธีการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถปรับสภาพจิตใจและได้สัมผัสกับนิมิตอย่างเป็นระเบียบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยสามารถทำกิจกรรมช่วยให้ใจละเอียดก่อนจะนึกถึงนิมิต จนกว่าจะเข้าใจและเข้าสู่การปฏิบัติธรรมอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ด้านในยังได้เสนอแนวทางการปรับใช้พระธรรมเทศนาในประเด็นนี้

หัวข้อประเด็น

-การนึกนิมิต
-การปฏิบัติธรรม
-วิธีการจัดการความคิด
-อารมณ์ในการปฏิบัติ
-การวางใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

8. หากนิมิตอยู่ข้างหน้า และหากใจสบายกับนิมิตที่อยู่ตรงหน้านั้น เราก็เอาใจไว้ตรงนิมิตนั้นไปก่อน แต่เรารู้เป้าหมายแล้วว่า ต้องมาอยู่ที่ฐานที่ 7 9. การเห็นของละเอียดจะต้องค่อยเป็นค่อยไป ค่อยๆ เห็นค่อยๆ ชัด จากกลางจะค่อยๆ ชัดขึ้น จากมืดมิดมามืดมัว เห็นสลัวๆ เห็นเหมือนฟ้าสางๆ แล้วก็เห็นเหมือนลืมตาเห็น จนเรากับสิ่งที่เห็น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี่คือหยุดอย่างสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ 10. วิธีรักษานิมิตให้ดูเฉยๆ แม้หายก็ช่าง 4.6 สาเหตุที่นึกนิมิตไม่ออก และวิธีแก้ไข ในการนึกนิมิต มีนักปฏิบัติธรรมหลายท่านนึกนิมิตไม่ออก ทั้งนี้ก็เพราะ 1. ไม่คุ้นในการนึกถึงนิมิต เช่น ไม่คุ้นกับการนึกองค์พระ หรือดวงแก้ว 2. ไม่เข้าใจคำว่า นึกอย่างสบาย ทำให้ไปเพ่ง คือ กดลูกนัยน์ตาลงไปดู 3. อารมณ์หยาบ เพราะมีความคิดคั่งค้างอยู่ในใจ ดังนั้น หากเกิดอาการนึกนิมิตไม่ออก ให้ผู้ปฏิบัติแก้ไขด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ วิธีแก้ไข 1. ถ้าไม่คุ้นกับการนึกภาพองค์พระ หรือดวงแก้ว ก็ให้วางใจนิ่งๆ เฉยๆ สบายๆ 2. ถ้ากดลูกนัยน์ตาดู ให้หยุดการนึกเสียแล้ว ปรับไม่ให้ใช้นัยน์ตาในการนึก หรืออาจเปลี่ยนมาใช้ การวางใจเฉยๆ แทนไปก่อน 3. ถ้าอารมณ์ยังหยาบให้ทำใจเฉยๆไปก่อนยังไม่ต้องนึกนิมิต หรืออาจเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอย่างอื่น ที่ทำให้ใจละเอียดขึ้นก่อน เช่น ร้อยมาลัย ปัดกวาด เช็ดถูทำความสะอาดข้าวของในบ้าน เป็นต้น 1 พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, วันที่ 19 มีนาคม 2536 บ ท ที่ 4 น ม ต แ ล ะ ก า ร น ก นิ มิต DOU 45
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More