การใช้คำภาวนาเพื่อเข้าถึงความสงบ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 62
หน้าที่ 62 / 93

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการใช้คำภาวนา 'สัมมาอะระหัง' และวิธีการภาวนาเพื่อนำไปสู่ความสงบและการขยายใจ โดยการภาวนาที่ศูนย์กลางกายและฟังเสียงภาวนาด้วยความละเอียดอ่อน การทำสมาธิช่วยให้หลุดพ้นจากความเครียดและวิตกกังวล การสนทนาเกี่ยวกับความหมายของ 'สัมมาอะระหัง' เป็นคำภาวนาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเข้าถึงพระธรรมกายในตัว ช่วยให้จิตใจเบิกบานและมีอิสระ จนเกิดความสงบภายในที่นำไปสู่การเข้าถึงอายตนนิพพาน

หัวข้อประเด็น

-คำภาวนา
-การตั้งจิต
-ความสงบภายใน
-การหลุดพ้นทางจิตใจ
-การทำสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คือรู้เรื่องความจริงทั้งหมด เห็นว่าอะไรเป็นจริง อะไรไม่จริงก็เห็นว่ามันไม่จริง อะไรจริงก็เห็นว่ามันจริง หลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น จนกระทั่งใจขยายไม่มีที่สิ้นสุด ที่เรียกว่า เบิกบานเหมือนอาการบานของดอกไม้ ดอกไม้ที่น้ำเลี้ยงดอกไม้มันเต็มที่ก็ขยายส่งกลิ่นหอมไปไกลทีเดียว ขยายออกไป ใจที่เบิกบาน คือใจที่หลุดจากข้อง จากที่แคบ จากภพทั้งหลาย จากสิ่งที่ทำให้อึดอัดที่ทำให้คับแคบ ให้วิตกกังวล เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ่ม อะไรต่างๆ หลุดหมดเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง ขยายไปไม่มีที่สิ้นสุด สัมมา อะระหัง โดยสรุปแล้วหมายถึง การเข้าถึงสิ่งอันประเสริฐ หรือสิ่งประเสริฐสูงสุดที่มนุษย์ จะพึงเข้าถึงได้ คือพระธรรมกายในตัวนั่นเอง จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นว่า คำว่า สัมมาอะระหัง จึงเป็นถ้อยคำที่ถูกกลั่นกรองและคัดเลือกแล้ว เพื่อนำมาใช้เป็นคำภาวนาที่เหมาะสมที่สุดในการภาวนา 5.5 วิธีการภาวนา 1. ภาวนาที่ศูนย์กลางกาย ให้เสียงดังออกมาจากในกลางท้อง ตรงศูนย์กลางกายที่กลางท้อง แล้วก็นึกถึงดวงใส ให้เห็นดวงใสชัดทีเดียว เสียงภาวนาดังออกมาจากตรงกลางดวงใสๆ ในท้อง จะเข้าถึงหนทางเบื้องต้น ที่จะไปสู่อายตนนิพพาน เป็นดวงใสสว่างกลมรอบตัวทีเดียว ใสบริสุทธิ์ยิ่งกว่าเพชร เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว มีความละเอียดอ่อน มีความบางเบาเหมือนไม่มีมวลของเนื้อแก้วเลยทีเดียว อย่างเล็ก ขนาดดวงดาว ในอากาศ อย่างกลางขนาดพระจันทร์คืนวันเพ็ญ อย่างใหญ่ก็ขนาดพระอาทิตย์ตอนเที่ยงวัน พอเราภาวนา ถูกส่วนนิ่ง พอถูกส่วนเข้า จะเห็นดวงธรรมอย่างนี้ 2. ภาวนาคล้ายเสียงที่ละเอียดอ่อน พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์แนะนำให้ภาวนาในใจว่า สัมมาอะระหังๆๆ โดยให้เสียง ของคำภาวนาดังออกมาจากจุดกึ่งกลางขององค์พระ ให้เสียงของคำภาวนาเป็นเสียงที่ละเอียดอ่อนคล้ายๆ กับเสียงเพลง ที่ดังก้องอยู่ในใจเรา ให้ภาวนาอย่างนี้เรื่อยๆ จนกว่าเราจะเกิดความรู้สึกว่า ไม่อยาก จะภาวนา อยากจะวางใจเฉยๆ ให้หยุดนิ่งอยู่ภายในกลางดวงแก้วหรือองค์พระ ถ้าเกิดความรู้สึก อย่างนี้เราก็ไม่ต้องภาวนาต่อ ให้ตรึกถึงดวงใส ใจอยู่ที่กลางดวงใส ในกรณีที่นึกดวงแก้ว องค์พระ ไม่ออกก็ให้ภาวนา ข้อควรระวัง อย่าท่องคำภาวนาโดยใช้กำลังแต่ให้เป็นเสียงที่ละเอียดอ่อนที่ดังออกมา จากกลางดวงใสๆ คล้ายๆ เสียงสวดมนต์ในใจ ในบทที่เราคล่อง หรือเสียงเพลงที่เราชอบที่ดังในใจ โดยที่ไม่ได้ตั้งใจ พระราชภาวนาวิสุทธิ์, พระธรรมเทศนา, 7 กันยายน 2540. บทที่ 5 การ ใช้ คำภาวนา DOU 53
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More