การเพียรและการปฏิบัติในสมาธิ MD 102 สมาธิ 2 หน้า 81
หน้าที่ 81 / 93

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการฝึกจิตใจและความเพียรในการเข้าถึงสมาธิ โดยเปรียบเทียบผึ้งที่มีลักษณะต่าง ๆ เพื่อสื่อถึงความพึงพอใจในการปฏิบัติธรรม นักศึกษาควรประเมินตนเองหลังเรียนบทนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการศึกษาบทถัดไป การใช้ความเพียรในระดับที่เหมาะสมจะช่วยให้บรรลุอัปปนาสมาธิ ปฐมมรรค หรือปฐมฌานได้อย่างสมบูรณ์

หัวข้อประเด็น

-ความเพียรในสมาธิ
-การเปรียบเทียบผึ้ง
-การฝึกจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

9. อภิชัปปา 10. มานัตตสัญญา ความอยาก ความนึกไปในสิ่งต่างๆ 11. รูปานํ อตินิชฌาย์ตัตตะ ความเพ่งต่อรูปจนเกินไป ความเพียร 3 ประเภทเปรียบเทียบกับผึ้ง 3 จำพวก ในการฝึกหัดจิตใจประคองรักษานิมิต ควรใช้ความเพียรแต่พอปานกลาง อย่าให้กล้านัก เพราะจะทำให้เป็นเหตุแห่งความฟุ้งซ่าน อย่าให้อ่อนนัก เพราะจะเป็นเหตุแห่งความเกียจคร้าน ท่านเปรียบเทียบไว้กับผึ้งดังนี้ ผึ้งจำพวกที่ 1 ไม่ฉลาด รู้ว่าดอกไม้ที่นั้น หรือที่โน้นบานแล้วก็บินไปอย่างรวดเร็ว ทำให้บินเลย ดอกไม้นั้นไป ครั้นรู้ตัวว่าบินเลยไปเสียแล้วก็บินย้อนกลับมา กว่าจะถึง ผึ้งตัวอื่นก็เคล้าเกสรดอกไม้ ไปหมดแล้ว ตนก็ไม่ได้เกสร ผึ้งจำพวกที่ 2 ไม่ฉลาด บินไปช้าๆ พอไปถึงผึ้งตัวอื่นก็เคล้าเกสรไปหมดแล้ว ตนก็ไม่ได้เกสร เช่นเดียวกันกับพวกที่ 1 ผึ้งจำพวกที่ 3 ฉลาด บินไปไม่ช้านัก ไม่เร็วนัก คลึงเคล้าเอาเกสรได้สมปรารถนา ผู้ทำความเพียรจัดไป ก็เหมือนกับ ผึ้งจำพวกที่ 1 ผู้ทำความเพียรอ่อนไป ก็เหมือนกับ ผึ้งจำพวกที่ 2 ผู้ทำความเพียรปานกลางสม่ำเสมอ ก็เหมือนกับ ผึ้งจำพวกที่ 3 สามารถบรรลุอัปปนาสมาธิ เข้าถึงปฐมมรรค หรือปฐมฌาน ได้สมปรารถนา กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 6 การรักษาสมาธิ จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 6 และกิจกรรม 1 และ 2 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 6 แล้วจึงศึกษาบทที่ 7 ต่อไป 72 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More