ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 4
นิมิตและการนึกนิมิต
ในขณะฝึกปฏิบัติสมาธิ หลายท่านมักจะพบกับสภาวะที่ใจซัดส่ายไปมา บางครั้งก็มีความคิด
ที่ปรากฏเป็นภาพของคน สัตว์ สิ่งของ ที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง พบเห็นหรือเคยเจอมา บางครั้งก็อาจปรากฏ
เป็นเสียงของคน สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น สำหรับผู้ฝึกปฏิบัติใหม่จึงรู้สึกว่าเป็นการยากในการที่จะทำให้
ใจของเราสงบหยุดนิ่ง ดังนั้นในการฝึกปฏิบัติสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายพระเดชพระคุณพระมงคล
เทพมุนีได้แนะนำให้ใช้การนึกนิมิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ใจของเราสงบ และเกิดเป็นสมาธิได้ง่าย
ดังนั้นเราจึงควรจะได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับนิมิต และการนึกนิมิตเพื่อให้สามารถนำไปฝึกปฏิบัติในขณะทำ
สมาธิได้
4.1 ความหมายของนิมิต
นิมิต คือ เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด ประโยชน์ของนิมิตมีไว้เพื่อเป็นที่ยึดที่เกาะของใจเช่น
เดียวกับคำภาวนา ทำให้ใจไม่ซัดส่ายไปที่อื่น จะได้หยุดนิ่งอยู่ภายใน นิมิตจึงเปรียบประดุจเป็นยานพาหนะ
ที่จะดึงใจของเราให้หลุดพ้นจากความวุ่นวายในชีวิตประจำวัน แล้วนำไปสู่เป้าหมายคือ เข้าถึงปฐมมรรค
ภายในซึ่งเป็นดวงธรรมเบื้องต้น
4.2 ประเภทของนิมิต
นิมิตแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. บริกรรมนิมิต คือ นิมิตขั้นเตรียมหรือเริ่มต้น ได้แก่ สิ่งใดก็ตามที่กำหนดเป็นอารมณ์ ในการ
เจริญสมาธิ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งดู ลมหายใจที่กำหนด หรือพุทธคุณที่กำหนดนึกเป็นอารมณ์ว่า อยู่ในใจ เป็นต้น
2. อุคคหนิมิต คือ นิมิตที่ใจเรียนหรือนิมิตติดตา ได้แก่ บริกรรมนิมิตที่เพ่งหรือกำหนด จนเห็น
แม่นยำกลายเป็นภาพติดตาติดใจ เช่น ดวงกสิณที่เพ่งจนติดตาหลับตามองเห็น เป็นต้น ภาพที่เห็นอย่างไร
นิมิตจะมีสภาพอย่างนั้น
3. ปฏิภาคนิมิต คือ นิมิตเสมือนนิมิตคู่เปรียบ หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ นิมิตที่เป็นภาพเหมือน
ของอุคคหนิมิต แต่ติดลึกเข้าไปอีก จนเป็นภาพที่สามารถนึกขยายหรือย่อส่วนได้ตามปรารถนา
นิมิตจะมีลักษณะที่เปลี่ยนจากของมีสีกลายเป็นของที่มีลักษณะใส
40 DOU สมาธิ 2 ห ลั ก ก า ร เ จ ริ ญ ส ม า ธิ ภ า ว น า