สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑๑-๓๐ หน้า 7
หน้าที่ 7 / 67

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับสาระสำคัญในพระธรรมเทศนาแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของสังขตธาตุและอสังขตธาตุ พร้อมกับการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับสังขารและความไม่เที่ยงของทุกสิ่ง รวมถึงการอธิบายประเภทต่างๆ ของสังขารและแนวทางในการเข้าใจความจริงตามธาตุธรรม ซึ่งเป็นการเสริมสร้างปัญญาและการปล่อยวางจากความยึดมั่นในสิ่งไม่เที่ยง เพื่อหลีกเลี่ยงทุกข์ในชีวิต.

หัวข้อประเด็น

- สังขตธาตุ
- อสังขตธาตุ
- สังขาร
- ความไม่เที่ยง
- ธรรมและอวิชชา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

48 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ๑.๑) สังขตธาตุ สังขตธรรม เป็นธาตุธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ บังคับบัญชาได้ ตั้งแต่ กายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหมทั้งหยาบและละเอียด ๑.๒) อสังขตธาตุ อสังขตธรรม ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู ถึง อนาคา (ทั้งหยาบทั้งละเอียด รวม ๘ กาย) ธาตุเหล่านี้ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้เหมือนแก้วใสสะอาด ๒. วิราคธาตุวิราคธรรม กายพระอรหัตทั้งหยาบละเอียด มีธาตุธรรมชนิดเดียวกัน แต่ว่าละเอียดขึ้นไปเป็นชั้นๆ ธาตุ ธรรมเหล่านี้เป็นตัวยืน เกิดก่อนพระพุทธเจ้า เป็นตัวผลิตสังขาร ให้เป็นติณชาติ รุกขชาติ หรือคน สัตว์ สังขาร มีอะไรบ้าง ? สังขารเกิดขึ้น แยกโดยธาตุธรรม มี ๓ ประเภท คือ Q. 2. ปุญญาภิสังขาร สังขารที่งดงาม ๒. อปุญญาภิสังขาร สังขารที่ไม่งดงาม ๓. อเนญชาภิสังขาร สังขารที่ไม่หวั่นไหว ได้แก่ สังขารอรูปพรหม ในเนวสัญญานา สัญญายตนะและอสัญญีสัตว์ เมื่อนามติดรูป ได้รูปฌาน ๔ ในพรหมชั้น ๑๑ สังขารแยกอีกอย่างหนึ่ง มี ๒ ประเภท คือ โอปปาติกะ) ๑. สังขารที่มีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) อาศัยกำเนิด ๔ (ชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ ๒. สังขารที่ไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร) เช่น ต้นไม้ สังขารทั้ง ๒ ประเภท ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ “สพเพ สังขารา ทุกขา” เป็นทุกข์แท้ๆ แต่ว่าทุกข์เหล่านี้ไม่เที่ยง เป็นละครของโลกชั่วครั้ง ชั่วคราวก็ลาโรงกันไป ถ้าว่าใครมีปัญญา ก็ปล่อยความยึดถือสิ่งไม่เที่ยงนั้นเสีย “ถ้ารู้จริงตามธาตุธรรม เขาปรุงให้เป็นไปต่างหากละ ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่ สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาที่ไหน ไม่มีทั้งนั้น” รู้จริงตามธาตุธรรม คือ “ธาตุ” เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง “ธรรม” ไม่ใช่ตัว ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เช่นกัน อย่าเที่ยวหา หาแล้วจะทุกข์ ท่านจึงยืนยันอีกครั้งว่า “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัว ปรุงตัวให้เป็นไปอีก ถ้าว่าไม่มีธรรมตัวก็ไม่มี ไม่มีตัวธรรมก็ไม่มี อาศัยกัน “ธรรม” เป็นดวงกลมใสอยู่กึ่งกลางกายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม ทั้งหยาบ และละเอียด ล้วนเป็นสังขตธาตุ สังขตธรรม ดวงธรรมกายธรรม กายธรรมพระโสดา กายธรรมพระสกิทาคา กายธรรมพระอนาคา ทั้งหยาบและละเอียด ล้วนเป็นอสังขตธาตุ อสังขตธรรม ยกดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตกับพระอรหัตละเอียดออกเสีย ดวงธรรมที่ต่ำกว่านั้น ลงมา รวม ๑๖ ดวง คือธรรม แต่ไม่ใช่ตัว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More