ข้อความต้นฉบับในหน้า
56 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
ไว้ว่า
๑๖
ปัจฉิมวาจา
(ความไม่ประมาท ๑)
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗
นโม.....
ภาสิตา โข ปน ภควตา.......
พระบรมศาสดาทรงไว้อาลัยแก่เราทั้งหลายด้วยปัจฉิมวาจา ให้เป็นเครื่องระลึกนึกถึงประจำ ใจ
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เชิญท่านทั้งหลาย เราเรียกท่านทั้งหลายเข้ามาสู่ที่เฝ้า
เรานี้ว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเสมอ สิ่งที่ได้เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู
ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ได้รู้แจ้งทางใจ เสื่อมไปเสมอ ไม่เหลือเลย ท่านจง
ถึงพร้อมด้วยความไม่เผลอ ไม่ประมาท”
ด้วย “พระปัจฉิมวาจา” นี้ พระองค์ทรงประสงค์ให้เรา
๑. นึกถึง “ความเสื่อม” ให้ติดอยู่กับใจเสมอ
นึกถึงอัตภาพร่างกายที่ไม่คงที่ นับแต่คลอดจากครรภ์มารดา ก็เสื่อมเรื่อยไป
ดังนั้น ทั้งสากลโลก รับรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ย่อมเสื่อมไป ไม่มีความตั้งอยู่ชั่วกัลปาวสาน
นึกถึงความเสื่อมประจำใจ จะหัวเราะเสียงดังไม่ออก เป็นแต่ยิ้มๆ เป็นภิกษุสามเณรจะต้อง
เรียนเป็นนักปราชญ์ให้ได้ หญิงชายครองเรือนก็ได้เป็นหลักฐานเพราะรักชีวิต หากรักษาศีล ก็รักษา
ถึงอธิศีล ทำสมาธิได้มั่นคง ทำปัญญาให้รุ่งเรือง ทางโลกก็เจริญในการเลี้ยงชีพ จะได้ทำความดียิ่งขึ้น
ไปอีก
นึกถึงความเสื่อมให้ติดกับใจ เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
“นึกถึงความเสื่อมได้เวลาไรละก็ บุญกุศลยิ่งใหญ่เกิดกับตนเวลานั้น”
ความเสื่อมนี้มีกับใครบ้าง ?
มีอยู่กับทุกคนในกำเนิดทั้ง ๔ (สังเสทชะ อัณฑชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ) อบายภูมิ ๔ มนุษย์
สวรรค์ 5 ชั้น พรหม ๑๖ ชั้น อรูปพรหม ๔ ชั้น มีความเสื่อมเหมือนกันหมด
๒. ให้ตรึกอยู่ในความเสื่อมนั้นด้วยความไม่ประมาท
พระองค์จะต้อนพวกเราให้พ้นจากความเสื่อมเหล่านั้นให้ออกจากภพ คือกามภพ รูปภพ อรูป
ภพ ขึ้นจากวัฏฏสงสาร เข้าถึงธรรมกายไปนิพพาน ด้วยการไม่ให้เผลอในความเสื่อมนั้น