สาระสำคัญพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับบุญและทาน ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑๑-๓๐ หน้า 61
หน้าที่ 61 / 67

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเทศนาเน้นถึงความสำคัญของการทำบุญและการบริจาค โดยบุญที่ทำจะติดตัวไปทุกชาติทุกภพ การทำทานอย่างตั้งใจช่วยให้บุคคลได้รับอานิสงส์ใน 5 ประการ ซึ่งได้แก่ อายุ วรรณะ สุขภาพ พละ และปฏิภาณ ผู้ที่ให้ทานด้วยความบริสุทธิ์ใจจะได้รับผลตอบแทนที่มากมาย การให้ทานต้องสอดคล้องกับความตั้งใจและกิเลสที่ขาดจากใจ รวมถึงการสละวัตถุเพื่อทำบุญอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังได้ยกตัวอย่างความสำคัญของการให้ทานตามพระสูตรและพระวินัย รวมถึงการมีจิตใจงดงามในพระพุทธศาสนาเมื่อทำกิจกรรมเหล่านี้

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของบุญ
-อานิสงส์จากการทำทาน
-การตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์
-ประเภทของทานในพระพุทธศาสนา
-ตัวอย่างการทำบุญและผลที่ตามมา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

102 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา “บุญบริจาคเพียงครั้งเดียวนี้ ติดเป็นดวงๆ ไปขนาด ๑,๐๐๐ วา พระนิพพาน เมื่อเจ้าภาพได้ถวายทานขาดจากใจ เป็นสิทธิ์ของผู้รับ ผู้รับจะใช้อย่างไรก็ใช้ได้ เพราะเป็นสิทธิ์ของตน แล้วขณะใดขณะนั้น ปุญญาภิสันธา บุญไหลมาติดอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ของเจ้าภาพ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากมลทิน ทีเดียว เหมือนสวิตช์ไฟฟ้าวูบเดียว ไฟก็ติด ฉะนั้น” บุคคลทำบุญได้อย่างนี้ เวลามีทุกข์ภัยให้นึกถึงดวงบุญเท่านั้น ดังเช่น พระพุทธเจ้าเมื่อใกล้ ตรัสรู้ ต้องผจญพญามารเพียงลำพัง จึงทรงระลึกถึงบารมีที่ได้ทำไว้ แม่พระธรณีจึงปรากฏมา รูดน้ำ จากมวยผมที่พระองค์ทรงเคยหลั่งเหนือพื้นปฐพี เป็นทะเลท่วมทับพญามาร ในพระบาลีกล่าวไว้ว่า การให้โภชนาหาร ได้ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการแก่ปฏิคาหก คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ผู้ให้ย่อมได้ฐานะอันเป็นที่ปรารถนานั้นด้วย อานิสงส์แห่งทานตอบสนองไปทุกภพทุกชาติ ด้วยฐานะ ๕ ประการ มากน้อยตามลำดับ นับ แต่ให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉาน ผู้ไม่มีศีล ผู้มีศีล ทานย่อมให้ผลสูงสุด หากให้แก่บุคคลที่ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ มีศีล ๕, ๘, ๑๐, ๒๒๗ ตั้งแต่ พระโสดาบัน โสดาปัตติมรรค จนถึงถวายแด่พระพุทธเจ้า “คนที่ได้พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ อยู่ในตัวแจ่มเสมอนั่น เรียกว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ บุคคลชนิดนั้นย่อมไม่กระทำบาปกรรม เพราะกลัว บาปกรรมเป็นที่สุด เราให้อาหารอิ่มเดียว อานิสงส์ ๕ ประการ ตามสนองมาก ยิ่งขึ้นไปเป็นทวีคูณตลอดทุกภพทุกชาติ นับชาติไม่ถ้วนทีเดียว” ทานในพระสูตร มี ๑๐ ประการ คือ ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่องทัดทรง อาสนะ และโคมประทีป ทานในพระวินัย มี ๔ คือ จีวร อาหารบิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัช ทานในพระปรมัตถ์ มี 5 คือ ปล่อยอารมณ์ความยินดี ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อันเป็นทานอันยิ่งใหญ่ ทางไปแห่งพระนิพพาน เจ้าภาพวันนี้ได้ถวายทานครบทั้ง ๓ ประเภท คือ ๓ ถวายอาหารอันประณีตแก่พระภิกษุ สามเณร ผู้มีธรรมกาย เป็นทานในพระสูตรและพระ วินัย สละความหวงแหนยินดีในทรัพย์ให้ขาดจากใจ เป็นทานพระปรมัตถ์ ทางแห่งมรรคผลนิพพาน เปรียบเหมือนนายอินทร์ชาวนาได้ถวายทานเพียงอิ่มเดียวแก่พระอนุรุทธเถระ ตายไปอยู่ดาวดึงส์ สมบัติยังมากกว่าอังกุระ มหาเศรษฐีที่บริจาคทานตลอด ๒๐,๐๐๐ ปี ด้วยทรัพย์อันนับประมาณไม่ได้ เพราะอังกุระถวายทานนอกพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More