พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และอริยสัจ ๔ ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑๑-๓๐ หน้า 10
หน้าที่ 10 / 67

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำมุ่งเน้นการอธิบายอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ และวิธีการเห็นอริยสัจนี้ต้องใช้ดวงญาณและหัวใจที่หยุดนิ่ง โดยเริ่มจากการเข้าฌาน โดยอธิบายถึงการเกิดและวิถีของสัตว์ทั้งหลาย และการสังเกตเห็นว่า สัตว์โลกมีทุกข์และอายตนะที่เป็นบ่อเกิดที่มนุษย์ต้องเผชิญ ดวงญาณจะขยายออกไปเมื่อเข้าฌานจนสามารถเห็นประสบการณ์ที่ลึกซึ้งมากขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-อริยสัจ ๔
-ธรรมะ
-การเข้าฌาน
-การเห็นสัจธรรม
-ทุกข์และอายตนะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 51 นิโรธ คือ ความดับเหตุให้เกิด มรรค คือ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ ๘ ไปจากข้าศึก ให้ถึงนิพพาน เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง ๔ เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว พระองค์ทรงรับสั่งว่า : - เอต โข สรณ์ เขม ฯ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ในกัณฑ์นี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ มุ่งเน้นอธิบายเรื่อง “อริยสัจ ๔” ในทางปริยัติ อริยสัจ ๔ นั้น คือความจริงที่พระองค์ตรัสรู้ที่ใต้ต้นโพธิ์ เป็นธรรมที่ทำให้เป็น พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ในทางปฏิบัติ การเห็นอริยสัจ ๔ นี้ ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาของพระสิทธัตถะ หรือกายไหนๆ แต่ ท่านเห็นด้วยตาธรรมกายโคตรภู รู้ด้วยญาณของกายธรรม เพราะกายมนุษย์ถึงกายอรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี ยังติดภพอยู่ จึงไม่อาจเห็นอริยสัจได้ ดวงวิญญาณในกลางกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ไม่อาจเห็นอริยสัจได้ ต่อเมื่อถึง กาย ธรรม ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็น “ดวงญาณ” หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ดวงญาณ ก็ กว้างแค่นั้น ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้เห็นตามปัญญาอันชอบ เมื่อดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติ ใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ถูกส่วนเข้าที่ธรรมกาย นั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น พอถึงปฐมฌาน ก็มีการไตร่ตรอง ปีติ มีความสุขเต็มส่วนนิ่งอยู่กลางฌาน สุขในฌานสุขลืม สมบัติ รู้เห็นว่าต่างคนต่างมา ไม่มีสองเลย ต่างเกิดต่างตาย เห็นดิ่งลงไปว่ามีที่ละเอียดกว่านี้ ใจหยุด นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ปฐมฌานจางไป ทุติยฌาน มาแทนที่รองนั่ง ไปไหน คล่องแคล่วยิ่งขึ้น พอเห็นว่าฌานที่ ๒ ใกล้ฌานที่ ๑ เสื่อมง่าย ใจก็หยุดนิ่ง ถูกส่วนหนึ่งเข้าอีก ถึง ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เรียกว่า “เข้าฌานโดยอนุโลม” เมื่อถอยจากฌานที่ ๔ มาฌานที่ ๑ เรียกว่า “ปฏิโลม” ถอยกลับ เมื่ออนุโลมปฏิโลมถูกส่วน ตาธรรมกายก็เห็นว่า สัตว์โลกนี้เป็นทุกข์ เห็นอายตนะที่ดึงดูดของ สัตว์โลกให้มาเกิด เขาเรียกว่า โลกายตนะ ทำให้เราติดอยู่กับอายตนะนั้น อายตนะ แปลว่า บ่อเกิด บ่อเกิดอยู่ที่ไหน นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะ กำเนิดของสัตว์มี ๔ คือ ๑. อัณฑชะ - เกิดด้วยฟองไข่ ๓. ชลาพุชะ - เกิดด้วยน้ำ ๒. สังเสทชะ - เกิดด้วยเหงื่อไคล ๔. โอปปาติกะ - ลอยขึ้นบังเกิด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More