ศีลเบื้องต่ำ และ ศีลเบื้องสูง ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑๑-๓๐ หน้า 18
หน้าที่ 18 / 67

สรุปเนื้อหา

ศีลเป็นหลักเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะศีล ๕ สำหรับผู้ครองเรือนซึ่งเป็นศีลเบื้องต่ำต้องมีให้มั่นคงก่อนในขณะที่ศีล ๘ เป็นศีลเบื้องสูงตามความสำคัญ ประกอบด้วยการปฏิบัติตนไม่ฆ่าสัตว์และการไม่ขโมย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้บุคคลมีชีวิตที่ดีและเป็นไปตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ศีลเบื้องต่ำและเบื้องสูงจึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาจิตใจของผู้ปฏิบัติให้สูงขึ้นในทางธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ศีลในพระพุทธศาสนา
-ศีลเบื้องต่ำ
-ความหมายของศีล ๕
-หลักการฆ่าสัตว์และจิตเจตนา
-ศีลเบื้องสูง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 59 ๑๗ ศีลเบื้องต่ำ และ ศีลเบื้องสูง ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ นโม..... อเนกปริยาเยน โข ปน..... ศีลเป็นหลักเบื้องต้นในพระพุทธศาสนา และเป็นสิ่งที่จะต้องรู้และมีให้แน่นอนในใจของทุกคน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปุจฉาวิสัชนาด้วยพระองค์เป็นลำดับในเรื่องศีลเบื้องต่ำและเบื้องสูง ปรากฏตามพระบาลี กฤญจ สีล ฯ ศีลเบื้องต่ำ ศีล คือศีล ๕ ของผู้ครองเรือน เป็นเหฏฐิมศีล ต้องมีให้มั่นเสียก่อน สูงกว่านี้ คือศีล ๘ เป็นอดิเรก ศีล ๕ ได้แก่ ๑. การฆ่าสัตว์ “สัตว์” แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในภพ มีกำเนิด ๔ คือ อัณฑชะ สัตว์ที่เกิดด้วยฟองไข่ แล้วฟักเป็นตัวทีหลัง ต้องระวังและเว้นจริงๆ เช่น ไข่เป็ด ไข่ ไก่ ไข่มด ไข่เรือด เพราะระวังยาก ถือว่ามีชีวิตอยู่แต่กระดุกกระดิกไปไหนไม่ได้ นางกุลตีกินรี ไข่ออกมา เป็นมนุษย์ชาย ๒ คน ต่อมาเป็นพระเถระ สังเสทชะ สัตว์ที่เกิดด้วยเหงื่อไคล เช่น เหา เล็น เรือด ไร มนุษย์ที่เกิดจากเหงื่อไคล ได้แก่ เรื่องพระปัจเจกโพธิ ๕๐๐ อาศัยคัพภมลทินเหงื่อไคลจากมารดา ชลาพุชะ สัตว์ที่อาศัยน้ำบังเกิด เช่น มนุษย์ แพะ แกะ วัว ควาย อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เช่น นางอัมพปาลี เกิดในคาคบต้นมะม่วง มีราชกุมาร ๕๐๐ จะ แย่งกัน พราหมณ์จึงตัดสินให้อยู่คนละ ๗ วัน ในปราสาทในสวนมะม่วง จะได้ไม่ทะเลาะกัน องค์แห่งศีลข้อที่ ๑ คือ ปาณาติบาต ©). สัตว์นั้นมีชีวิต ทั้งเป็นตัวแล้วหรือยังอยู่ในไข่ ขยับตัวไม่ได้ก็ตาม เรียก ปาโณ ๒. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต ๓. มีเจตนาจะฆ่าสัตว์นั้น ๔. พยายามฆ่าสัตว์นั้น ๕. สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น ท่านยกเอาอริยบุคคล อริยสาวก ตั้งแต่พระโสดา เจตนาฆ่าสัตว์ของท่านไม่มีเลย ที่เรารักษา ปาณาติบาตนี้ ต้องตัดเจตนาให้ขาดจากใจ องค์แห่งศีลข้อที่ ๒ คือ อทินนาทานา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More