ศีล 5 และความสำคัญในธรรมของพระพุทธศาสนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑๑-๓๐ หน้า 20
หน้าที่ 20 / 67

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความสำคัญของศีล 5 ในพระพุทธศาสนา โดยเปรียบเทียบกับประตูของพระนคร เอกลักษณ์ของศีล 5 ที่เชื่อมโยงกับการไม่ประมาทและการใช้ชีวิตตามทางธรรม โดยเฉพาะการปฏิบัติตนของภิกษุให้มีความสำรวมและมีเมตตาในการใช้ชีวิต รวมทั้งเทคนิคในการรักษาศีลที่สูงขึ้น เช่น ศีล 8 และ ศีล 10 รวมทั้งระเบียบการประพฤติของภิกษุซึ่งต้องมีความสำรวมตามพระปาติโมกข์

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของศีล 5
-การปฏิบัติของภิกษุ
-ศีลสูงในพระธรรมวินัย
-การไม่ประมาทในชีวิตประจำวัน
-อาจารมารยาทและโคจรในภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 61 ศีลห้าข้อเหมือนพระนครมี ๕ ประตูตามลำดับ ถ้าออกประตูที่ ๕ คือล่วงสุรา ก็เท่ากับผ่าน ประตูที่ ๑ ถึง ๕ แล้ว ศีลข้อ ๕ จึงเป็นตัวสำคัญ เช่นเดียวกับโมหะเป็นตัวสำคัญที่สุดในกิเลสทั้ง โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ตระกูล คือ สุราจึงจัดไว้ว่าเป็นตัวประมาท อยู่ในธรรมที่เป็นอกุศล ส่วนธรรมที่เป็นกุศลในพระไตรปิฎก มากน้อยเพียงใด สรุปลงในความไม่ประมาท ดังนั้น ต้องมั่นอยู่ในศีลห้า ซึ่งเป็นศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงศีลโดยปริยายเบื้องสูงว่า อิธ ภิกขุ ฯ ภิกษุ มีศีลอย่างไร ? ภิกขุในธรรมวินัยของพระตถาคต ย่อมเป็นผู้มีศีล (สีลวา โหติ) ไม่ต้องสมาทาน เหมือนอุบาสก อุบาสิกา แต่สำเร็จด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ในท่ามกลาง พระสงฆ์ในปัจจันตประเทศ ตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ในมัชฌิมประเทศตั้งแต่ ๑๐ รูป มาประชุมโดยมีพระ อุปัชฌาย์ พระกรรมวาจา ส่วนสามเณรต้องมีศีล ๑๐ ศีล ๘ เป็นไปเพื่อการตัดตัณหา จึงเพิ่มการเว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาลเพื่องด “รสตัณหา” ฟ้อนรำดีดสีตีเป่า เป็นสัททตัณหาตรึงสัตว์โลกให้มนุษย์เวียนอยู่ในภพ ทัดทรง ประดับดอกไม้ของหอม นั่งนอนอาสนะสูงใหญ่ มีนุ่นสำลี เป็น “โผฏฐัพพตัณหา” ศีล ๑๐ เพิ่มการไม่รับเงินและทอง ศีล ๕, ๘, ๑๐ รวมอยู่ในศีลของภิกษุหมด ศีลภิกษุเป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลไม่มีที่สุด ในวิสุทธิมรรคแสดงไว้ มี ๓ ล้านกว่าสิกขาบท ศีลเบื้องสูง ๑. ย่อมเป็นผู้สำรวมในพระปาติโมกข์ คือ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามที่ทรงอนุญาต โดยทั่วไปมี ๒๒๗ สิกขาบท “ศีล ๒๒๗ ขึ้นสู่พระปาติโมกข์ แต่ว่าข้อสำคัญทั้งนั้น ไม่ใช่ข้อเล็กน้อย เพราะ ฉะนั้นควรไหว้ควรบูชาภิกษุ ภิกษุที่ประพฤติในสิกขาบัญญัติน้อยใหญ่ของตัวได้ น่าไหว้ น่าบูชานัก เป็นของยาก ไม่ใช่เป็นของทำง่าย” ๒. ถึงพร้อมด้วยอาจารมารยาท และด้วยโคจร ๒.๑ อาจารสัมปันโน ภิกษุเวลาเดินย่อมทอดตาลงมองชั่วแอกหนึ่ง เรียกว่า ตาตาย ทอด ลง แม้จะเบิกตาขึ้นก็เพียงดูอันตรายเท่านั้น มิได้แสวงหาวิสภาคารมณ์ คือ รูปที่ชอบ ภิกษุเดินอยู่ในความสำรวม เรียกว่า อินทรีย์สังวร ทั้ง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ให้โทมนัสลอดเข้าประทุษร้ายใจ เรียก “อาจาระ” ภิกษุสำรวมในมารยาททั้งกาย วาจา ใจ เป็นอัพโพหาริก ลงในเจตนา ไม่ประทุษร้ายใคร ประกอบด้วยเมตตา เป็น ปุเรจาริก ๒.๒ โคจรสัมปันโน ภิกษุไม่ไปในที่อโคจร แต่ไปในที่โคจรของตัว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More