บัพพโตปมคาถา (มรณภัย) ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑๑-๓๐ หน้า 38
หน้าที่ 38 / 67

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สื่อถึงการรับรู้เกี่ยวกับความแก่และความตาย ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงเปรียบเปรยกับภูเขา โดยกล่าวว่าความแก่และความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ทุกชีวิตย่อมพบกับวาระสุดท้าย ความล่วงลับไปของชีวิตก็คือความเป็นจริงที่ทุกคนสูญเสียไปทุกวัน ตัวอย่างการเทศนาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำความดีและการประพฤติธรรมในชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขหลังจากหมดไปจากโลกนี้ ผู้ที่เข้าใจในธรรมชาติของชีวิตย่อมมีสติและรู้คุณค่าของเวลาเมื่อวันเวลาผ่านไป

หัวข้อประเด็น

- ความไม่เที่ยงของชีวิต
- พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
- ความตายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
- การประพฤติธรรมในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 79 ២៣ บัพพโตปมคาถา (มรณภัย) ๒๘ มีนาคม ๒๔๙๗ นโม..... ยถาปิ เสลา วิปุลา..... พระสูตรนี้แสดงถึงความแก่และความตายที่ครอบงำสัตว์ทั้งหลายให้สิ้นไป โดยอาศัยภูเขาเป็น เครื่องเปรียบเทียบ หญิงชายที่เกิดมา ย่อมแปรไปทุกอนุวินาที จนกระทั่งดับสูญ ถ้าไม่มีบุญวาสนาเต็มด้วยฤทธิ์ แล้ว ไม่ถึงปลายชีวิตสักคน น่าสลดใจนัก ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงเทศนาไว้ว่า : ยถาปิ เสลา วิปุลาฯ ภูเขาทั้งหลายล้วนแล้วด้วยศิลาอันไพบูลย์สูงจรดฟ้า หมุนบดสัตว์เข้ามาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด ความแก่และความตายย่อมท่วมท้นสัตว์ทั้งหลายฉันนั้น ฯลฯ ขยายความ : พระพุทธองค์ทรงเปรียบว่า ภูเขาศิลาตันทึบไม่มีช่องน้ำหรือโพรง กลิ้งมาจาก ๔ ทิศ บดเข้า มาจรดกันตรงกลาง แม้แต่มด เล็น ต้นหญ้าย่อมไม่เหลือ กลิ้งเข้ากลิ้งออกอยู่อย่างนี้ เหมือนชีวิตที่ เกิดมาแล้วก็ต้องแก่ตาย ความแก่และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งสิ้นให้วินาศ ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ พลเรือน ฯลฯ “อันใครๆ ไม่อาจจะชนะความแก่และความตายด้วยการรบด้วยเวทมนต์ หรือการ รบด้วยทรัพย์ จะเอาชนะความแก่และความตายไม่ได้เลย” บัณฑิตผู้เห็นประโยชน์ตน จึงควรศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ บุคคลใดประพฤติ ธรรมด้วยกาย วาจา ใจ นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ละโลกไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์ วันคืนล่วงไป ชีวิตจิตใจ ความเป็นอยู่ของเราล่วงตามไปด้วย ดังนั้นเกิดมาแล้วต้องไม่ถอย หลัง หรือห่วงหน้าพะวงหลัง รอใครไม่ได้ทั้งนั้น “ชีวิตที่เป็นอยู่ ๑๐๐ ปี พอหมดไปเสียวันหนึ่ง ก็ขาด ๑๐๐ ปีไปวันหนึ่งแล้ว ลดคืนหนึ่ง ผ่านร้อยปีไปคืนหนึ่งแล้ว หมดเสียวันกับคืนหนึ่ง ขาดร้อยปีไปวันกับ คืนหนึ่งแล้ว อย่างนี้เรื่อยไป เมื่อวันคืนเดือนปีล่วงไปเท่าไร ชีวิตก็หมดไปเท่านั้น” ใครทำให้เป็นเช่นนั้น ? สภาพความเป็นเองปรุงแต่ง หรือใครปรุงแต่ง ทั่วทั้งชมพูทวีป หมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล หมด ทั้งอนันตจักรวาล ตลอดนิพพาน ภพสาม โลกันต์ ไม่รู้กันทั้งนั้นว่าเพราะอะไร ?
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More