ข้อความต้นฉบับในหน้า
84 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
วิเวเก ฯ
ยินดีได้ด้วยยากในนิพพานอันสงัดใด
“ถ้าว่าไม่มีธรรมกายแล้ว ไปยินดีไม่ได้ ถ้าไม่ถึง ไม่รู้รสชาติของนิพพานที่
เดียว ถ้ามีธรรมกายแล้ว ยินดีนิพพานได้ นิพพานเป็นที่สงัด เป็นที่สงบ เป็นที่เงียบ
เป็นที่หยุดทุกสิ่ง ถึงนิพพานแล้ว สิ่งที่ดีจริงอยู่ที่นิพพานทั้งนั้น”
ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย ฯ ละกามทั้งหลายเสียได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกังวลแล้ว ปรารถนายินดีจำเพาะ
ในพระนิพพานนั้น
“พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์มุ่งนิพพานทั้งนั้น เมื่อเป็นพระอรหัตนั้น มี
จำนวนเท่าไรองค์ ก็มุ่งนิพพานทั้งนั้น ตั้งแต่อนาคาก็มุ่งนิพพาน อยากจะอยู่ใน
นิพพาน เป็นที่เบิกบานสำราญใจ กว้างขวาง ทำให้อารมณ์กว้างขวางทำให้
เยือกเย็น สนิท ปลอดโปร่งในใจ ทำให้สบายมากนัก นิพพาน”
ปริโยทเปยย ฯ บัณฑิตผู้ดำเนินด้วยคติของปัญญาเรียกว่า คนฉลาด ชำระตนให้ผ่องแผ้ว
สะอาด จากธรรม เครื่องเศร้าหมอง เหลือแต่ธรรมกายใสสะอาดเป็นชั้นๆ
ไป ตั้งแต่โคตรภู ถึงอรหัต บัณฑิตนั้นย่อมไม่ถือมั่น ปล่อยเสียหมดได้
พระสูตรบทสุดท้าย มุ่งเน้นถึงตัดกิเลสเป็นพระอรหันต์ จึงเป็นธรรมทางวิปัสสนา
ขีณาสวา ฯ
บัณฑิตนั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ทั้งกามาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ย่อม
เป็นผู้โพลง รุ่งเรือง สว่าง ดับสนิทในโลกด้วยประการดังนี้
ธรรมที่แสดงมานี้ เป็นทางวิปัสสนาโดยกล่าวมาตามปริยัติ แต่โดยทางปฏิบัติลึกซึ้งมาก ต้อง
อาศัยธรรมกายเท่านั้น เมื่อธรรมกายปรากฏ ก็เห็นธรรมตามที่กล่าวมาแล้วว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ในขันธ์ ๕ ทั้ง ๘ กาย (ภูมิสมถะ) รวมทั้งสัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย สัตว์นรก ว่าขันธ์
นั้นเกิดจากธาตุจาก ธรรมเป็นตัวยืน ขันธ์มีกี่ชาติก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง และไม่ใช่ตัว และ (ดวง) ธรรม
ที่ทำให้เป็นขันธ์ ทุกกายก็ไม่ใช่ ตัวจึงปล่อยละเป็นชั้นๆ ตั้งแต่กายหยาบเข้าหากายธรรมถึงขั้นวิปัสสนา
ในขั้น 4 กาย เป็นขั้นสมถะ จึงยังเข้าถึงวิปัสสนาไม่ได้
ภูมิสมถะ มี ๔๐ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ (กำหนดอาหาร เป็น
ปฏิกูล) จตุธาตุววัตถาน ๑ (กำหนดธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ) พรหมวิหาร ๔ อรูปฌาน ๔
ภูมิวิปัสสนา ตาธรรมกายเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ประกอบด้วย ขันธ์ ๕ อายตนะ
๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒
ตาธรรมกายมองเห็นอริยสัจ ๔ ว่า
ทุกข์ คือ การเกิด (ชาติปิ ทุกขา คือ ความเกิดเป็นทุกข์) รวมถึงแก่ เจ็บ ตาย
เหตุเกิดทุกข์ คือ กามตัณหา (ความอยากได้) ภวตัณหา (ความอยากให้มีให้เป็น) วิภวตัณหา
(ไม่อยากให้แปรไป)
“เหมือนเราเป็นหญิงเป็นชาย ไม่มีลูกอยากได้ลูก นั่นเป็นกามตัณหาแล้ว
ได้ลูก สมเจตนาเป็นภวตัณหาขึ้นแล้ว ไม่อยากให้ลูกนั้นแปรไปเป็นอย่างอื่น นั่น
เป็นวิภวตัณหาอีกแล้ว”