ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 93
២៣
จิตของผู้ที่โลกธรรมกระทบแล้ว ไม่หวั่นไหว
เป็นจิตไม่ยินร้าย เป็นจิตไม่ยินดี เป็นจิตเกษม
๒๕ เมษายน ๒๔๙๗
นโม.....
ผฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ .....
นี้เป็นคาถาสุดท้ายในมงคลสูตร ๓๘ มงคลสูตร จัดเป็นบาลีคัมภีร์ใหญ่ เป็นเหตุเครื่องถึงซึ่ง
ความเจริญอันสูงสุดในธรรมวินัยของพระบรมศาสดา
เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายกระทำซึ่งมงคล ๓๘ ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงซึ่ง
ความสวัสดีเรื่อยไป ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด
๑. จิตของผู้ที่โลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว
โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นอิฏฐารมณ์ที่ปรารถนา และเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติ
เตียน ทุกข์ เป็นอนิฏฐารมณ์ที่ไม่ปรารถนา
จิตเป็นตัวยืน โลกธรรมทั้งหลายเป็นตัวจร มีอยู่คู่โลก ถ้าโลกนี้มีอยู่ตราบใด ก็มีอยู่ตราบนั้น
เป็นของประจำอยู่ทั่วไปแก่มนุษย์และสัตว์ ไม่หายไปไหน และไม่ใช่ของใคร จึงเรียกตัวจร
ผู้ที่ได้ฝึกฝนใจในธรรมของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ก็มีท่าหลีกเลี่ยงในอิฏฐารมณ์และอนิ
ฏฐารมณ์ ต้องบังคับจิต ตั้งจิตเสียให้ดี จึงจะต่อสู้กับโลกธรรมได้
ตั้งจิตให้ดีจะตั้งตรงไหน ?
ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เริ่มต้นก็หมั่นเอาใจจรดอยู่ตรงนั้น ทั้งนั่ง
นอน เดิน กิน ดื่ม ฯลฯ แรกๆ ยังไม่ค่อยอยู่ ก็จรดต่อไป หนักเข้าก็อยู่เอง
“พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ
ติเตียน ทุกข์ ไม่กระทบกระเทือนแล้ว เฉยเสียแล้วล่ะ ไม่อาดูรเดือดร้อนด้วย
อิฏฐารมณ์ - อนิฏฐารมณ์แล้ว”
“ถ้าจิตเป็นขนาดนี้แล้ว บุคคลนั้นถึงซึ่งความสูงสุดแล้ว ถึงซึ่งมงคลแล้ว เข้า
ถึงซึ่งเนื้อหนังมงคลแล้ว บุคคลนั้นเป็นตัวมงคลขึ้นแล้ว นี้อยากได้มงคล ต้องทำ
อย่างนี้นะ ถ้าว่าอาดูรเดือดร้อนไปตามอิฏฐารมณ์ - อนิฏฐารมณ์ เป็นอัปมงคล
แท้ๆ”