ข้อความต้นฉบับในหน้า
70 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา
๒๐
ศีลทั้งสามประการ
(อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา)
๑๔ มีนาคม ๒๔๙๗
นโม.....
อธิสีลสิกขา สมาทาเน.....
ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งเบื้องต่ำ - เบื้องสูง ได้แสดงไปแล้ว โดยย่อ คือ
ศีลเบื้องต่ำ คือ ศีลโดยปกติ ด้วยการสำรวมกาย วาจา ประสงค์ศีล ๕
ศีลเบื้องสูง คือ ปาติโมกข์สังวรศีลของภิกษุสามเณรที่บริสุทธิ์ถึงเจตนา ยังเป็นปกติศีลอยู่ และ
บริบูรณ์ด้วยมารยาท และโคจร เห็นภัยแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบทน้อยใหญ่
สมาธิเบื้องต่ำ คือ พระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า เป็นผู้สละอารมณ์ทั้งสิ้น หลุด
ขาดจากใจ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งของใจ
หนึ่ง
สมาธิเบื้องสูง คือ ดำเนินถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ได้โดยฌานใดฌาน
ปัญญาเบื้องต่ำ คือ พระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความเกิดขึ้น
และความเสื่อมไป รู้ความเกิดขึ้นนั้น ข้อปฏิบัติถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ อันเป็นเครื่องเบื่อหน่าย
ปัญญาเบื้องสูง คือ เป็นผู้รู้ชัดว่านี่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
ทุกข์ คือสัจธรรมทั้ง ๔
อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
“อธิศีล” แปลว่า ศีลยิ่ง เป็นศีลที่เห็น ไม่ใช่ศีลรู้ เป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็น
กายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงไก่ ใจของผู้ปฏิบัติหยุดนิ่งกลางดวงศีล เป็นหนึ่งไม่ลอกแลก
“ศีลนั้นจะบริสุทธิ์ก็เห็นว่าบริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เห็นว่าไม่บริสุทธิ์ จะ
สะอาดเพียงแค่ไหนก็เห็น ไม่สะอาดแค่ไหนก็เห็น ขุ่นมัวเศร้าหมองก็เห็นทั้งนั้น”
“ใจหยุดอยู่กลางดวงนั้น ศีลไม่เป็นไปเพื่อกำลัง ไม่ต้องการรักษาศีลจะให้รวย
เท่านั้นเท่านี้ มั่งมีเท่าโน้นมั่งมีเท่านี้ มุ่งแต่สมาธิต่อไป ไม่ได้มุ่งสิ่งอื่น”
“อธิจิต” เมื่อเห็นอธิศีล เป็นดวงอย่างนั้น ผู้มีปัญญาก็ไม่ได้ถอยออก ใจหยุดนิ่งกลางดวงอธิศีล
ถูกส่วนเข้าถึงดวงสมาธิ หรือดวงอธิจิต เป็นสมาธิยิ่ง จิตยิ่ง
“อธิปัญญา” จิตอยู่กลางดวงสมาธิ (อธิจิต) นั้น พอถูกส่วนกลางของกลางเข้าถึงดวงปัญญา
เรียกว่า “อธิปัญญา”