สาระสำคัญพระธรรมเทศนา ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑๑-๓๐ หน้า 53
หน้าที่ 53 / 67

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเทศนาเน้นการทำใจให้หยุดเพื่อพ้นจากความเศร้าโศกและความกระทบกระเทือน จิตที่หยุดจะมีความโปร่งใสเหมือนกระจก โดยที่ไม่ได้ยินดีหรือโศกเศร้าในสิ่งที่เกิดขึ้น การทำจิตให้ผ่องใสจะนำไปสู่ความมั่งมีและตลอดสามารถลดปัญหาหรือความยุ่งยากต่างๆ ภายในชีวิตได้ จิตที่หยุดจะสามารถเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้

หัวข้อประเด็น

-การหยุดจิต
-ความมงคลของใจ
-การทำใจให้ใส
-การเข้าถึงนิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

94 สาระสำคัญพระธรรมเทศนา “อัปมงคลไม่ใช่เป็นแต่ฆราวาส หญิงชายนะ ภิกษุสามเณรเหมือนกัน พอ สงบไม่ลง ทำใจหยุดไม่ได้ก็เป็นอัปมงคลแท้ๆ เมื่อรู้เช่นนั้น ต้องเพียรทำใจ ให้ หยุดเข้าซี หยุดได้เวลาใด ก็เป็นมงคลเวลานั้น” ๒. จิตไม่ยินร้าย (อโสก์) คือ จิตไม่โศก โศก แปลว่า ความผาก ความแห้ง โศก จะมีกับจิตของบุคคลใด เพราะอาศัยใจ “หยุดพอใจหยุดเข้าไปเวลาใด เวลานั้นโศกผอมลงไปทันที” โศกนี้จะเกิดเวลาใด ? เวลาพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจ จากญาติพี่น้อง หรือตายจากกัน พอโศกเกิดขึ้น ใจก็ แห้ง ผาก หมดแรง ต้องแก้ไขทันที ทำใจหยุดเสีย “พอใจหยุดเสียเท่านั้นแหละ ไม่ยักโศกแต่นิดเดียว โลกธรรมจะมากระทบ สัก เท่าหนึ่งเท่าใดก็ไม่โศก เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ สักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ไม่ โศก พลัดพรากจากเมีย ลูกสาว สักเท่าหนึ่งเท่าใดก็ไม่โศก เพราะใจหยุดเสียแล้ว” ๓. จิตปราศจากความไม่ยินดี หรือความขุ่นมัว ปราศจาก ธุลี (วิรช์) เมื่อใจหยุดก็ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัว “ระวังตัว อย่าให้เศร้าหมองขุ่นมัวได้ ถ้าเศร้าหมองได้เพราะตัวโง่ไม่ทันกับ ดวงจิต โง่กว่าดวงจิต ไม่ทำจิตให้หยุดเสีย ถ้าจิตปล่อยให้อารมณ์เข้าไประดมได้ ทำจิตให้เศร้าขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ก็เท่ากับลงโทษตัวเอง ๔. เป็นจิตเกษม (เขม) - คือ จิตหยุดเสียได้เป็นจิตผ่องใสเหมือนกระจกส่องเงา จิตดวงนั้นเป็นตัวมงคลแท้ๆ ผู้ครองเรือน ต้องการความมั่งมี ต้องอย่ากระทบกระเทือนใจกัน ทำใจให้ใส อยู่เป็นแดน เกษมเสมอไป “ถ้าจิตหยุดเช่นนั้นเสียแล้วละก็ เงินน่ะไม่ต้องหายาก หาลำบาก แต่อย่างไร หรอก ถ้าจิตผ่องใสขนาดนั้นแล้ว ไม่ต้องทำงานอะไรมากมายไปหรอก มันไหล เข้ามาเองนะ เงินน่ะไม่เดือดร้อน มีแต่เงินเข้า เงินออกไม่มีนะ ออกก็เล็กๆ น้อยๆ เข้ามามาก ผ่องใสอย่างนั้นละก็ นั่นตัวนั้นเป็นตัวสำคัญทีเดียว” พอทำใจใสได้ก็เป็นหนทางสู่มรรคผลนิพพานทีเดียว ทำใจใสถูกส่วน ใจที่ใสอยู่แล้วขยายส่วนออกไป ใจหยุดนิ่งอยู่ที่กลางความใส หยุดในหยุด หยุด ในหยุด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงใสผุดขึ้นเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใจก็หยุดที่กลางดวงนั้น เรียก “ดวง ศีล” ทำใจหยุดเข้าต่อไปถึงดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กาย มนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม และธรรมกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More