หนทางหมดจดวิเศษ ๖๙ กัณฑ์หลวงปู่วัดปากน้ำ กัณฑ์ที่ ๑๑-๓๐ หน้า 12
หน้าที่ 12 / 67

สรุปเนื้อหา

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้นำเสนอเรื่อง 'หนทางหมดจดวิเศษ' ซึ่งเป็นการบรรยายที่สอนให้รู้จักกับความไม่เที่ยงของสังขารและการหยุดเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุด คือ พระอรหัตและนิพพาน โดยเน้นที่การหยุดเป็นหนทางที่สำคัญในการปฏิบัติธรรม การอดทนและการอดใจเป็นวิธีการที่จะทำให้สามารถหยุดได้และไปถึงนิพพาน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

- หนทางหมดจดวิเศษ
- พระมงคลเทพมุนี
- พระไตรลักษณ์
- การหยุดในธรรม
- นิพพาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 53 ๑๕ ติลักขณาทิคาถา (หนทางหมดจดวิเศษ) ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗ นโม..... สพฺเพ สงฺขารา อนิจจาติ...... หลวงพ่อวัดปากน้ำแสดงพระธรรมเทศนา อันว่าด้วยหนทางอันหมดจดวิเศษ แก่คฤหัสถ์ บรรพชิต เนื่องในวันธรรมสวนะขึ้นแปดค่ำแห่งปักษ์มาฆะ เพื่อจะเป็นตัวอย่างที่ดีในการรักษา พระพุทธศาสนาต่อไป หนทางอันหมดจดวิเศษ ท่านยกพระไตรลักษณ์ขึ้นไว้ว่า สพฺเพสงฺขารา ฯ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ผู้ใดเห็นตามปัญญา ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ เป็นหนทางหมดจดวิเศษ หนทางหมดจดวิเศษ คืออะไร ? เป็นหนทางตั้งต้น จนถึงพระอรหัต ที่จะไปสู่มรรคผลนิพพาน จะไปถึงได้อย่างไร ? ต้องทำใจ “หยุด” คือ หยุดที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์หยุดเข้า กลาง ของหยุด กลางของกลาง จนถึงพระอรหัต “หยุดคำเดียวเท่านี้แหละ ตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว ถ้าหยุดไม่ได้ ก็ไม่ ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ถ้าหยุดได้ ก็ถูกทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ หยุดนิ่ง นี่แหละเป็นหนทางหมดจดวิเศษละ พระองค์ทรงรับสั่งทางมรรคผลว่า ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกขา ฯ ขนตี คือ ความอดทน ตีติกขา คือ ความอดใจ หมายถึง อดจนกระทั่งหยุด พอใจหยุดจึงอด อดแล้วจึงหยุด หยุดนั่นแหละ เป็นสำคัญ ยืนยันด้วยตำราว่า นตฺถิ สนฺติปร์ สุข์ สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มี พระบาลีกล่าวต่อไปว่า อปปกา เต ฯ บรรดามนุษย์ทั้งหลายเหล่าใดมีปรกติไปสู่ฝั่งคือนิพพาน ชนทั้งหลายเหล่านั้น น้อยนัก ส่วนชนนอกนี้เลาะอยู่ชายฝั่ง คือ โลก วัฏฏสงสาร เย จ โข สมุมทกฺขา เต ฯ ชนเหล่าใดประพฤติธรรมที่พระตถาคตกล่าวดีแล้ว ย่อมถึงซึ่งฝั่ง คือนิพพานได้ เป็นที่ตั้งล่วงเสียซึ่งวัฏฏะ เป็นที่ตั้งแห่งมัจจุ อันบุคคลข้ามได้ยากยิ่งนัก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More