ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) 63
០៨
สมาธิ
(สมาธิเบื้องต่ำ และ สมาธิเบื้องสูง)
๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗
นโม.....
กถญฺจ สมาธิ สมุมทุกขาโต.......
เริ่มต้นพระธรรมเทศนา ในเรื่องสมาธิ ด้วยคำปุจฉาวิสัชชนา โดยพระพุทธองค์เองว่า
กถญฺจ สมาธิ ฯ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วเป็นไฉน?
หลวงพ่อวัดปากน้ำ ได้แสดงให้เข้าใจโดยปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้
สมาธิโดยปริยัติเบื้องต่ำ :
อิธ อริยสาวโก ฯ
สมาธิโดยปริยัติเบื้องสูง :
อิธ ภิกขุ วิวิจเจว ฯ
พระอริยสาวกในพระธรรมวินัย กระทำให้ปราศจากอารมณ์ทั้ง 5 คือ
รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์
ไม่ได้เกี่ยวแก่ใจเลย เรียกว่า ปราศจากอารมณ์ ทำให้ได้สมาธิตั้งมั่น
จิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มีสองต่อไป
ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัย สงัดแล้วจากกาม อกุศลทั้งหลายเข้าถึง
ปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง ประกอบด้วย องค์ ๕ ประการคือ วิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา
สงบวิตก วิจาร ได้แล้ว เข้าถึง “ทุติยฌาน” ความเพ่งที่ ๒ ประกอบด้วย “ปีติ” และ “สุข”
เกิดจากวิเวก
สงบปีติ เข้าถึง “ตติยฌาน” ความเพ่งที่ ๓ มีองค์ คือ “สุข” เกิดแต่ “วิเวก” หรือ สุขเอกัคคตา
ละทุกข์ละสุข ดับความดีใจ เสียใจ เข้าถึง “จตุตถฌาน” ความเพ่งที่ ๔ มีสติบริสุทธิ์ เฉยเป็น
องค์ประกอบ (อุเบกขา, เอกัคคตา)
เหล่านี้เป็นสมาธิในทางปริยัติ
สมาธิในทางปฏิบัติเบื้องต่ำ :
พระอริยสาวกกระทำอารมณ์ทั้ง 5 (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์) ไม่ให้ติดใจ คือ
สละอารมณ์ หลุดจากจิต เหลือแต่จิตล้วนๆ เหมือนคนเวลานอนใกล้จะหลับ
เมื่อยังไม่หลับ มีอารมณ์เข้าไปติดอยู่กับอารมณ์ทั้ง 5 อดีต ปัจจุบัน อนาคต อารมณ์เหล่านี้
วุ่นอยู่กับใจ ติดอยู่กับใจ เปลื้องจากกันไม่ได้ ตลอดคืนยันรุ่งก็ไม่หลับ เพราะอารมณ์เข้าไปติดกับใจ
มันไปบังคับใจเสีย มันไม่หลุด เรียกว่า สละอารมณ์ไม่ได้