การศึกษาปรโลกวิทยา GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 15
หน้าที่ 15 / 180

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับปรโลกวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาสถานะการดำเนินชีวิตหลังความตายของสรรพสัตว์ในภพอื่น นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ โดยนำมาจากคำสอนในพระไตรปิฎกและข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาในการเตรียมตัวไปสู่การเข้าใจปรโลก

หัวข้อประเด็น

-ปรโลกวิทยา
-ฐานข้อมูลชีวิตหลังความตาย
-สังสารวัฏ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สถานที่ที่เราต้องการจะไปหลังจากที่เราละจากโลกนี้ไปได้อีกด้วย 1.1 สามัญลักษณะของปรโลกวิทยา ในหัวข้อนี้ นักศึกษาจะได้ศึกษาสามัญลักษณะ ที่กล่าวถึงความหมายของปรโลกวิทยา หรือความรู้พื้นฐานทั่วไปของวิชาปรโลกวิทยา เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบขอบข่ายของการศึกษาวิชานี้อย่างกว้างๆ ว่า เรากำลังจะศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในโลกอื่นๆ นอกจากมนุษยโลก ได้ศึกษาสถานที่ตั้ง ของปรโลกว่าอยู่ส่วนใดของโลกมนุษย์ มีภพภูมิใดบ้างที่เรียกว่า ปรโลก และได้ศึกษาความจริงที่ว่าปรโลก ยังตกอยู่ในกฎไตรลักษณ์ ที่มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน และยังเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นสถานที่ รองรับการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่เรียกว่าสังสารวัฏอีกด้วย 1.1.1 ปรโลกวิทยา คือ อะไร คำว่า ปรโลกวิทยา ประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่า “ปรโลก” ซึ่งพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า โลกหน้า" และคำว่า “วิทยา” หมายถึง ความรู้ ดังนั้นปรโลกวิทยา จึงหมายถึงความรู้ ที่ว่าด้วยโลกหน้า จากคำแปลของปรโลกวิทยาดังกล่าว เป็นความหมายโดยพยัญชนะ แต่สามารถแปลขยายความ เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ และชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้ ปรโลกวิทยา หมายถึง การศึกษาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในภพภูมิ อื่นที่นอกเหนือจากภพมนุษย์ จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก และตำราสำคัญทาง พระพุทธศาสนา จากความหมายของปรโลกวิทยาข้างต้นนี้ จะทำให้นักศึกษาเข้าใจภาพรวมของวิชาปรโลกวิทยาว่า เรากำลังจะศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของภพภูมิต่างๆ ที่นอกเหนือจากภพมนุษย์ เพื่อจะได้เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนการเดินทางไปสู่ปรโลก เมื่อถึงคราวจะต้องหลับตาลาโลกไป และนักศึกษาจะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไป ถ่ายทอดให้กับผู้ที่ยังไม่รู้ เพื่อเตรียมตัวไปสู่ปรโลกด้วยเช่นกัน 1.1.2 ปรโลกเป็นส่วนหนึ่งของสังสารวัฏ ในทางพระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า คนเกิดมาไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียว เราเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน และยังต้องเวียนว่ายตายเกิดถือกำเนิดในวัฏสงสารอีกยาวไกลจนกว่าจะถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ดังที่พระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน บุคคลสูตร ความว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ เมื่อบุคคลหนึ่ง ท่องเที่ยวไปมาอยู่ตลอดกัปหนึ่ง มีกองกระดูกใหญ่เท่าภูเขาเวปุลละนี้ ถ้ากองกระดูกนั้นจึง เป็นของที่จะขนมารวมกันได้ และกระดูกที่ได้สั่งสมไว้แล้ว ก็ไม่พึงหมดไป เพราะว่าสงสารนี้ กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ” - พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542, กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546, หน้า 650. *บุคคลสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 441 หน้า 521 ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 5
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More