อริยบุคคลและคุณธรรม GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 155
หน้าที่ 155 / 180

สรุปเนื้อหา

อริยบุคคลคือผู้ที่ห่างไกลจากกิเลสและบรรลุธรรมวิเศษ สามารถสละชีวิตเพื่อรักษาคุณธรรม สังโยชน์เป็นกิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ และมี 10 ประการ เช่น อวิชชาและความถือมั่นในศีลพรต โสดาบันคือภูมิที่พ้นจากภพ 3 เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น มีความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยและศีล แมนนี้เป็นหนึ่งในแปดจำพวกที่โดดเด่น ดวงวิทยา DOU 145

หัวข้อประเด็น

-อริยบุคคล
-อนุสัย
-สังโยชน์
-โสดาบัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อริยบุคคล คือ ผู้ไกลจากกิเลส หรือ บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ไม่ทำบาป อกุศลแม้เพียงเล็กน้อย สามารถสละชีวิตของตนได้เพื่อรักษาคุณธรรมเอาไว้อีกทั้งมีความบริสุทธิ์ทั้งกายวาจา ใจ จึงได้รับการขนานนามว่า พระอริยเจ้า และไม่ว่าจะอยู่ในเพศภาวะของบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ เป็น มนุษย์หรือเทวดาก็เป็นพระอริยบุคคลได้เหมือนกัน อนุสัย คือ กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี 7 ประการ คือ 1. กามราคะ ความกำหนัดยินดี 2. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด 3. ทิฏฐิ ความเห็นผิด 4. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย 5. มานะ ความถือตัว 6. ภวราคะ ความกำหนัดในภพ 7. อวิชชา ความไม่รู้ สังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ หรือธรรมที่มัดใจสัตว์ไว้กับ ทุกข์ มี 10 ประการ คือ โอรัมภา คิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ ได้แก่ 1. สักกายทิฏฐิ 2. วิจิกิจฉา ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน ความลังเลสงสัย 3. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นในศีลพรต 4. กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ 5. พยาบาท ความคิดแค้นผู้อื่น และอุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ประการ ได้แก่ 6. รูปราคะ 7. อรูปราคะ 8. มานะ 9. อุทธัจจะ 10. อวิชชา 7.2 โสดาบันโลกุตรภูมิ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต ความติดใจในอรูปธรรม ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ความฟุ้งซ่าน ความไม่รู้จริง ภูมิของพระโสดาบัน เป็นโลกุตรภูมิชั้นต้น เป็น 1 ใน 4 ของโลกุตรภูมิ 7.2.1 ความหมายของโสดาบันโลกุตรภูมิ โสดาบันโลกุตรภูมิ คือ ภูมิที่พ้นจากภพ 3 ของผู้ถึงกระแสพระนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น พระโสดาบันเป็นสัทธานุจารี จะมีความเลื่อมใสแบบไม่สงสัยในพระรัตนตรัย และศีลไม่ขาดตลอดไป จัด เป็นทักขิไณยบุคคลหนึ่งใน 8 จำพวก ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 145
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More