ข้อความต้นฉบับในหน้า ก่อนอื่นนักศึกษาควรทำความเข้าใจก่อนว่า กฎของไตรลักษณ์ หมายถึงอะไร ซึ่งจะอธิบายสรุป
พอให้เข้าใจดังนี้ ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะ 3 อย่าง ประกอบด้วย อนิจจัง คือ สภาพที่ไม่เที่ยงแท้ ทุกขัง คือ
สภาพที่เป็นทุกข์ อนัตตา คือ สภาพที่ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ขออธิบายทั้ง 3 ศัพท์ เพิ่มเติมดังนี้
อนิจจัง คือ สภาพที่ไม่เที่ยง เช่น สังขารา อนิจจา ปรากฏอยู่ในบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า แปลว่า
สังขารไม่เที่ยง ความจริงแล้วอะไรไม่เที่ยง คำตอบ คือ ทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละไม่เที่ยง ไม่ว่าจะเป็น
ร่างกายของเรา บ้านที่เราอาศัย ข้าวของเครื่องใช้ คนที่เรารัก ไม่มีอะไรเที่ยงสักอย่างหนึ่ง แม้แต่ตัวเรา
เองก็ไม่เที่ยง ที่ว่าไม่เที่ยงเพราะมันปรวนแปร เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพ ไม่คงที่ คงเดิม แต่เดิมเป็นอย่าง
หนึ่ง ต่อมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง อย่างเช่นร่างกายของเรา เคยมีผิวพรรณผ่องใส เต่งตึง เมื่อกาลเวลาผ่านไป
ผิวพรรณก็เริ่มเหี่ยวแห้ง มีรอยย่นไปตามวัย ในที่สุดก็ตายกลับกลายเป็นธาตุเดิมของมัน อาการที่
เปลี่ยนแปลงนี้ เรียกว่า อนิจจัง
ทุกขัง คือ สภาพที่เป็นทุกข์ เราคงรู้จักในลักษณะของความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือความ
ลำบาก อย่างนั้นเรียกว่า ทุกขเวทนา แต่ถ้าเป็นทุกข์ในลักษณะของไตรลักษณ์แล้วไม่ได้หมายถึงความลำบาก
แต่หมายถึง อาการที่สิ่งต่างๆ ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เช่น ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เมื่อเกิดใหม่
เป็นทารก พอโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น เราจะให้เด็กทารกไม่โตเป็นวัยรุ่นไม่ได้ ร่างกายจะต้องแปรเปลี่ยนไปตาม
สภาพของมัน ไม่สามารถรักษาสภาพเดิมได้ อย่างนี้เรียกว่า ทุกข์
อนัตตา คือ สภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ชาวโลกมีความสำคัญตนว่า มีตนเป็นของตน และสำคัญว่า มี
ของเป็นของตน เช่น เงินทอง ไร่ นา บ้าน แต่ทั้งตนและของของตนนั้น มันถูกประกอบขึ้นจากธาตุต่างๆ
อย่างเช่น ตัวเราก็ถูกประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป (รูปต้นเดิม) มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ประกอบ
เข้าด้วยกันจนเป็นตัวเรา แต่พอแยกธาตุเหล่านี้ออกจากสภาพเดิมก็ไม่ใช่ตัวเราแล้ว หรือที่เป็นของของ
เราก็เช่นกัน มันไม่ใช่ตัวตน เพราะมันไม่อยู่ในอำนาจ ถ้ามันเป็นตัวตนจริงต้องอยู่ในอำนาจเรา สั่งอะไร
ต้องได้อย่างนั้น
จากที่กล่าวมาข้างต้น นักศึกษาคงทราบความหมายของไตรลักษณ์แล้วว่า มีลักษณะอย่างไร
ต่อไป จะกล่าวถึงปรโลกว่าทำไมจึงเป็นไตรลักษณ์ ดังที่กล่าวมาเบื้องต้นในหัวข้อแรกๆ แล้วว่า ปรโลกนั้น
ประกอบด้วยภพภูมิต่างๆ มากมายถึง 31 ภูมิ ภพภูมิเหล่านี้ยังตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ทั้งหมด คือ มี
ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ไม่ว่าจะภพภูมิที่ดี ที่เสวยสมบัติอันประเสริฐสุด ดุจพระเจ้า
จักรพรรดิก็ดี หรือองค์อัมรินทร์จอมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็ดี หรือมีความสุขจากฌานดุจพรหมและอรูปพรหมก็ดี
แม้จะมีความสุขขนาดไหน แต่ก็ไม่เที่ยงแท้แน่นอนตลอดไป เมื่อถึงคราวย่อมต้องพลัดพรากจากความสุขนั้นๆ
เป็นธรรมดา
เมื่อถึงคราวสิ้นอายุขัยในแต่ละภพ ย่อมจะเคลื่อนจากอัตภาพนั้น ท่องเที่ยวไปเกิดในภูมิอื่นๆ อีก
ภายใต้วัฏสงสารดังที่กล่าวมาแล้ว หากประกอบอกุศลกรรมไว้ ด้วยใจที่เศร้าหมองก็มีโอกาสพลัดไปสู่อบาย
ต้องทนทุกข์ทรมานในวัฏสงสารเบื้องต่ำ ถ้าประกอบกุศลกรรมไว้ เมื่อกรรมฝ่ายอกุศลเบาบางก็จะไปบังเกิด
ตามอำนาจแห่งกรรมนั้นในวัฏสงสารเบื้องกลาง หรือถ้าหมั่นทำภาวนาจนได้ฌานก็มีโอกาสไปเกิดเป็นพรหม
8 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า