มนุสสภูมิ: ความหมายและความสำคัญในพุทธศาสนา GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 86
หน้าที่ 86 / 180

สรุปเนื้อหา

บทนี้จะกล่าวถึงความสำคัญของมนุสสภูมิ ซึ่งเป็นที่อยู่ของผู้มีใจสูงที่มีความดีงามในจิตใจ ผ่านการกระทำในชีวิต โดยสะท้อนให้เห็นว่าการเกิดเป็นมนุษย์มีความยากลำบาก และเป็นโอกาสในการสร้างบุญและบาป คำว่า มนุษย์ มาจากบาลี หมายถึง ผู้มีใจสูง มีความรู้จักดีชั่วและการมีเมตตากรุณา ทั้งนี้จะเชื่อมโยงกับอบายภูมิ และภูมิชีวิตอื่นๆ ในสังสารวัฏ

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของมนุสสภูมิ
-การสร้างบุญและบาป
-ความหมายของคำว่ามนุษย์
-การเปรียบเทียบภูมิในสังสารวัฏ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความนํา บทที่ 3 มนุสสภูมิ นักศึกษาได้เรียนเรื่องอบายภูมิมาแล้ว จะเห็นได้ว่า อบายภูมินั้นเป็นดินแดนที่มีแต่ความทุกข์ ทรมานยิ่งนัก นอกจากนี้ยังทำให้เราได้ข้อสรุปที่สำคัญอีกประการหนึ่งว่า การเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เปรตก็ดี อสุรกายก็ดี หรือสัตว์เดียรัจฉานก็ดี ล้วนเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ครั้งยังมีชีวิตอยู่ทั้งสิ้น แสดง ให้เห็นว่าภูมิมนุษย์จะต้องมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตในสังสารวัฏนี้ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ตรัสถึงความสำคัญของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ว่า เป็นความยากอย่างหนึ่งทีเดียว ซึ่งมีปรากฏใน พุทธวรรค ว่า “กิจโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ การกลับได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก” การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน 31 ภพภูมินั้น หากเราจะเปรียบเทียบสัตว์ที่อยู่ในภูมิอื่นๆ กับภูมิ มนุษย์แล้ว จะพบว่าสัตว์ที่เกิดในภูมิมนุษย์นั้นมีจำนวนน้อยมาก แต่สัตว์ที่ไปบังเกิดในภูมิฝ่ายสุคติ มีสวรรค์ 6 ชั้นบ้าง พรหมบ้าง อรูปพรหมบ้าง มีจำนวนมากกว่า หรือสัตว์ที่ไปเกิดในภูมิฝ่ายทุคติ มีสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน จัดว่ามีจำนวนมากที่สุด หากเราได้พิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว จะพบว่า สุคติภูมิ เป็นภูมิแห่งการเสวยผลแห่งกุศลกรรมที่ตน ได้กระทำไว้ ทุคติภูมิ เป็นภูมิแห่งการเสวยผลบาป ส่วนภูมิมนุษย์นั้นเป็นศูนย์กลางแห่งการสร้างบุญและบาป ในบทนี้ นักศึกษาจะได้ทำความรู้จักกับภูมิที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด คือ มนุสสภูมิ เป็นการอธิบายเรื่อง ตัวของเราเอง และมวลมนุษยชาติทั้งหลาย เราไม่ได้ศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการศึกษาในเชิง พุทธศาสตร์ ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมองมนุษย์อย่างไร 3.1 ความหมายของคำว่า มนุสสภูมิ ในลำดับแรก เรามาทำความเข้าใจถึงความหมายของคำว่า มนุษย์ กันก่อน มนุษย์ หมายถึง คน หรือ เหล่าคน เขียนตามแบบบาลีได้ว่า มนุสฺส มาจากคำว่า มน (อ่านว่า มะ-นะ) ซึ่งแปลว่า ใจ รวมกับ คำว่า อุสส ที่แปลว่า สูง เมื่อรวมความหมายแล้ว แปลว่า ผู้มีใจสูง เหตุที่ได้ชื่อว่า มีใจสูง เพราะมีความดี งามอยู่ในจิตใจ กล่าวคือ มีความรู้จักผิดชอบชั่วดี รู้บุญบาป รู้จักมีเมตตากรุณา เป็นต้น และเมื่อนำคำว่า มนุสฺส มารวมกับคำว่า ภูมิ ที่แปลว่า แผ่นดิน ที่อยู่ ก็จะหมายถึง ที่อยู่ของผู้มีใจสูง นอกจากความหมาย ของคำว่า มนุษย์ ดังกล่าวมาแล้ว ยังมีที่แสดงไว้อีกหลายนัย ดังนี้ พุทธวรรค, ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 ข้อ 24 หน้า 275. 76 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More