ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในข้อปฏิบัติสำหรับเตรียมตัวไปพระนิพพาน มีกล่าวไว้ในพระสูตรดังนี้
“นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไปตั้งไว้ซึ่ง
น้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาด้วยเครื่องหอมและดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำ
ประทักษิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ ก็ไม่บำเพ็ญ
เพราะเหตุแห่งคติไม่บำเพ็ญ เพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญ
เพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งวัฏฏะ เป็นผู้มี
ความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้มโอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น
แม้เพราะเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชน พึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน”
มีอีกพระสูตรหนึ่งกล่าวว่า
“คนบางคนในโลกนี้ปรารถนาอยู่ซึ่งวิวัฏฏะ นิพพาน) จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ
ทำการบูชาพระรัตนตรัยด้วยสักการะทั้งหลายมีเครื่องหอมและพวงดอกไม้ เป็นต้น ฟังธรรม
(และ) แสดงธรรม ทำฌานและสมาบัติให้บังเกิด เขาทำอยู่อย่างนี้ ย่อมได้นิปปริยายธรรม คือ
อมตนิพพานโดยลำดับ
8.7 การเจริญภาวนาที่มุ่งตรงต่อนิพพาน
นักศึกษาได้เรียนรู้หัวข้อต่างๆ ของนิพพานมาพอสมควรแล้ว ลำดับต่อไป นักศึกษาจะได้ศึกษาว่า
การภาวนาตามทางสายกลางเป็นหนทางที่จะนำไปสู่นิพพาน ซึ่งในที่นี้จะขอนำข้อความที่พระสารีบุตรได้
ตอบข้อสงสัยเรื่องข้อปฏิบัติเพื่อการทำพระนิพพานให้แจ้งกับชัมพุชาทุกปริพาชกใน นิพพานปัญหาสูตร ว่า
“ดูก่อนผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ
วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ตั้งสติชอบ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา
เป็นปฏิปทาเพื่อกระทำนิพพานนั้นให้แจ้ง”
จากข้อความนี้ ทำให้เราทราบว่า ข้อปฏิบัติที่จะนำเราไปสู่พระนิพพาน คือ การภาวนาให้ตรง
ทางอริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นทางปฏิบัติสายกลางที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ครั้งแรกใน
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในการแสดงธรรมครั้งนั้นมีพระโกณฑัญญะบรรลุธรรมเป็น
บุคคลแรก และรวมถึงเหล่าเทวดาจำนวนมากที่บรรลุธรรมเช่นเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า
เนื้อความในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เรื่องมรรคมีองค์ 8 นี้ เป็นแม่บทของการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระ
นิพพานอย่างแท้จริง แต่การจะปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ได้ถูกต้องตรงทางนั้น จะต้องฝึกฝนตนเองอย่าง
ยิ่งยวด และมีความเพียรในการเจริญภาวนาอย่างเต็มที่อีกด้วย
อัตตทัณฑสุตตนิทเทส, ขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 66 ข้อ 826 หน้า 474.
ธรรมทายาทสูตร, อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 214.
* นิพพานปัญหาสูตร, สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค, มก. เล่ม 29 ข้อ 497 หน้า 88.
168 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า