ข้อความต้นฉบับในหน้า
ฉะนั้น เมื่อเวลาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายไปแล้ว ผู้ทำบุญควรเว้นจากการสนุกสนาน
เอิกเกริกเฮฮา เช่น มีการเลี้ยงเหล้ากันในขณะนั้น หรือมีมหรสพคือการละเล่นต่างๆ จะเป็นที่บ้านหรือที่
วัดก็ตาม ผู้ทำบุญควรสมาทานศีลเสียก่อนเพื่อให้ใจสงบ และต้องเจริญมรณานุสติด้วย เพื่อให้กุศลจิตเกิด
ขึ้น การทำบุญตามที่กล่าวมานี้ผู้ทำก็ได้อานิสงส์มาก คือ ได้บุญเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ และผู้ที่ตายไปแล้ว ถ้า
อยู่ในภูมิที่รับบุญได้ เมื่ออนุโมทนาบุญ ก็ได้รับส่วนบุญนั้น
ถ้าหากผู้ทำบุญไม่ได้ทำตามที่ได้กล่าวมาแล้วมัวแต่มีการสนุกสนานต่างๆ จิตใจในขณะนั้นจะไม่สงบ
บุญกุศลก็เกิดน้อย ฉะนั้นการทำบุญที่เจือด้วยความสนุกสนานเช่นนั้น ผู้ทำบุญย่อมได้อานิสงส์ของการ
กระทำนั้นเล็กน้อย ได้บุญไม่เต็มที่ ฝ่ายผู้ที่ได้รับส่วนบุญที่ญาติแผ่ไปให้ก็คงได้รับไม่เต็มที่เช่นเดียวกัน
2.2.8 เหตุที่ทำให้เกิดเป็นเปรต
การที่มนุษย์ทั้งหลาย จะได้ไปเกิดเป็นเปรต เสวยความทุกข์ทรมาน เพราะความอดอยาก ได้รับ
ความกระหายอย่างแสนสาหัสนั้น ใช่ว่าจะไปเกิดเองโดยมิต้องอาศัยเหตุปัจจัยอะไร
การที่มนุษย์ทั้งหลายจะต้องไปเกิดเป็นเปรต มีชีวิตอยู่ในอบายภูมิหลังจากละโลกไปแล้ว ก็เพราะ
มีเหตุมีปัจจัย หรือปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ไปถึงเปรตนั้น ได้แก่ อกุศลกรรมบถ กล่าวคือ ความชั่วที่ทำไว้ทาง
กาย วาจา ใจ เช่นเดียวกับเหตุปัจจัยอันเป็นปฏิปทาให้ไปสู่นรกตามที่กล่าวมาแล้วเหมือนกัน แต่เพื่อให้
เข้าใจได้อย่างแม่นยำ จึงขอนำเอาอกุศลกรรมบถมากล่าวไว้อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
อกุศลกรรมบถ 10 ประการ
ก. กายกรรม หรือ การทําบาปทางกาย มี 3 คือ
1. ฆ่าสัตว์
2. ลักทรัพย์
3. ประพฤติผิดในกาม
ข. วจีกรรม หรือ การทำบาปทางวาจา มี 4 คือ
1. พูดเท็จ
2. พูดส่อเสียด
3. พูดคำหยาบ
4. พูดเพ้อเจ้อ
ค. มโนกรรม หรือ การทำบาปทางใจ มี 3 คือ
1. โลภอยากได้ของเขา
2. พยาบาทปองร้ายเขา
3. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม
ป ร โ ล ก วิ ท ย า
DOU 65