การศึกษาเกี่ยวกับอบายภูมิและนิรยภูมิ GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 45
หน้าที่ 45 / 180

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายเกี่ยวกับอบายภูมิที่เป็นสถานที่ชดใช้กรรมของมนุษย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระทำที่นำไปสู่นรกหรือทุคติ โดยจะแบ่งประเภทของสัตว์ในแต่ละภูมิ มีการอธิบายเกี่ยวกับนิรยภูมิว่าคือโลกที่เต็มไปด้วยทุกข์และไม่มีความสุข นักศึกษาควรเข้าใจลักษณะของแต่ละภูมิรวมถึงมหานรกซึ่งมักเข้าใจผิดในการลงโทษ อาทิเช่น โทษจากกรรมในยมโลก

หัวข้อประเด็น

- อบายภูมิ
- นิรยภูมิ
- โลกนรก
- ความทุกข์ในนิรยภูมิ
- มหานรก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากความหมายของศัพท์ที่กล่าวมาพอจะสรุปได้ว่า ศัพท์ทั้งหมดนั้นมีความหมายในลักษณะ ที่คล้ายคลึงกันคือ มุ่งไปในทางที่เสื่อม เป็นความทุกข์ทรมาน ไม่มีความเจริญ แต่ต่างกันในรายละเอียด ตาม สภาพการเสวยสุข ทุกข์ เช่น สัตว์เดียรัจฉาน จัดอยู่ในอบายภูมิ 4 แต่มีสัตว์เดียรัจฉานบางประเภท เช่น ครุฑ นาค ไม่จัดเป็นทุคติภูมิ ไม่จัดเป็นวินิบาต เพราะไม่มีการถูกทำลายเหมือนเช่นสัตว์นรก และบางกลุ่ม ยังเสวยผลบุญอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา แต่ก็จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์เดียรัจฉานเพราะไม่มีความเจริญ ไม่สามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ สรุปว่า อบายภูมินี้ เป็นสถานที่ชดใช้กรรมของมนุษย์ ที่ได้กระทำความชั่วไว้เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ซึ่งไม่มีใครเลยที่จะหลีกเลี่ยงจากกฎแห่งกรรมนี้ไปได้ไม่ว่าเขาคนนั้นจะมีเชื้อชาติศาสนาหรือเผ่าพันธุ์ใดก็ตาม ในบทนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้ สถานที่ตั้งของแต่ละภูมิ ลักษณะของการกระทำที่ทำให้ไปเกิดใน แต่ละภูมิ และศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์ในแต่ละภูมิของฝ่ายทุคติ อันประกอบด้วย นิรยภูมิ เปตติ วิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ และติรัจฉานภูมิ เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาแล้ว จะทำให้มีความเข้าใจลักษณะของแต่ละ ภูมิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 2.1 นิรยภูมิ นิรยภูมิ หรือ โลกนรก หมายถึง โลกที่ ไม่มีความสุขสบาย เป็นปรโลกฝ่ายทุคติภูมิ ที่มี โทษแห่งการกระทำอกุศลหนักที่สุดในบรรดา อบายภูมิทั้งหลาย เป็นโลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ล้วนๆ ปราศจากความสุขโดยสิ้นเชิง สัตว์ที่ไปเกิด อยู่ในโลกนรกนี้ไม่มีความสุขแม้สักนิดเดียว โลก นรกนี้มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ไพศาลมาก แบ่งเป็น เขตๆ ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง เรียกว่า “ขุม” สัตว์นรก มหก ที่บังเกิดขึ้นในแต่ละขุม จะได้รับทุกขเวทนาแตกต่างกัน แล้วแต่อกุศลกรรมที่ตัวเคยกระทำไว้ ในนิรยภูมินี้ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ มหานรก อุสสทนรก และยมโลก นิรยภูมิ หรือ โลกนรกนี้ นักศึกษาจะต้องศึกษาเป็นลำดับแรก ให้เข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้ เพื่อ ให้เห็นลักษณะการกระทำที่จะนำไปเกิดในนรกแต่ละขุม จะได้ระมัดระวังการกระทำของเราในปัจจุบัน ที่ เสี่ยงต่อการพลัดตกลงไปอยู่ในนรกนั้น 2.1.1 มหานรก เรื่องของมหานรกนั้น ชาวโลกส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจน แม้ชาวพุทธเองก็ยังเข้าใจ สับสนอยู่ เพราะเคยเห็นภาพตามฝาผนังอุโบสถตามวัดต่างๆ ในลักษณะของการปีนต้นงิ้วบ้าง การทรมาน ในกระทะทองแดงบ้าง หรือถูกเจ้าหน้าที่ในยมโลกลงทัณฑ์ในลักษณะต่างๆ บ้าง ซึ่งภาพที่เห็นส่วนใหญ่นั้น เป็นภาพของการลงโทษในยมโลกซึ่งเป็นนรกขุมย่อย จะเรียกว่า นรก อย่างที่เข้าใจกันในตอนต้นก็คงไม่ผิดนัก ป ร โ ล ก วิ ท ย า | DOU 35
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More