ข้อความต้นฉบับในหน้า
ในเรื่องการภาวนาตามมัชฌิมาปฏิปทานี้ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น จะขอยกตัวอย่างบท
เทศน์ของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่กล่าวไว้ตอนหนึ่ง ซึ่งทำให้เห็นภาพของการปฏิบัติได้ชัดเจน
ยิ่งขึ้นดังนี้
“อริยมรรคมีองค์ 8 หรือ มัชฌิมาปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติอันเป็นกลางนั้น คือ การเจริญ
มรรคมีองค์ 8 ครั้นปฏิบัติได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ พอถูกส่วนเข้าองค์มรรคทั้ง 8 ประการย่อมรวม
ตัวกันเป็นดวงกลมใสบริสุทธิ์ อย่างเล็กอาจจะมีขนาดเท่าดวงดาว อย่างกลางก็ขนาดดวงจันทร์
อย่างใหญ่ก็ขนาดดวงอาทิตย์ ปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เรียกว่า “ดวงปฐมมรรค” หรือ
“ดวงธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน” ซึ่งเป็นเครื่องหมายบ่งบอกให้ทราบว่า ผู้ปฏิบัติได้บรรลุถึง
ต้นทางของอายตนนิพพานแล้ว
ดวงปฐมมรรคนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สว่างโพลงอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ของผู้เข้าถึงอยู่
ตลอดเวลา ยามหลับ ก็จะหลับอย่างเป็นสุข ยามตื่น ก็จะรู้สึกสดชื่น แจ่มใสเบิกบานอยู่เสมอ ยามปฏิบัติ
หน้าที่การงานสิ่งใด ก็จะพากเพียรทำไปจนบรรลุประสิทธิผล โดยมิได้รู้สึกท้อแท้ หรือหวังลาภสักการะ
เป็นการตอบแทน นอกจากนั้นยังช่วยให้ความทรงจำ ตลอดจนปฏิภาณไหวพริบ และความคิดสร้างสรรค์
เกิดขึ้นอย่างคล่องแคล่วรวดเร็วทำให้บุคคลสามารถใช้สติปัญญาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นสำเร็จลุล่วง
ไปด้วยดี แต่ทว่าความสุขและความสำเร็จอันเกิดจากดวงปฐมมรรคนี้ก็ยังหาเพียงพอไม่ สำหรับโยคาวจร
บุคคลผู้หวังมรรคผลนิพพานเป็นแก่นสารแห่งชีวิต
ดังนั้น จึงยังจำเป็นจะต้องดำเนินจิตต่อไป ให้บรรลุความสุขและความสำเร็จเบื้องสูงต่อไปอีก
ด้วยการปล่อยวางดวงปฐมมรรคโดยการดำเนินจิตเข้าสู่กลางดวงปฐมมรรคนั้นเอง ครั้นแล้วจะได้พบว่า ดวง
ปฐมมรรคนั้นแผ่ขยายกว้างออกไป ทำนองเดียวกับการขยายเป็นวงกว้างของผิวน้ำ เมื่อเราโยนก้อนหิน
ลงไปฉะนั้น จากนั้นจิตก็จะดำเนินวิ่งเข้ากลางของกลาง ซึ่งอยู่ในกลางดวงปฐมมรรคนั้นไปเรื่อยๆ ผ่าน
ดวงต่างๆ และกายต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วไปจนกระทั่งบรรลุกายธรรมพระอรหัตเป็นที่สุด กายธรรมนี้เอง คือ
พระนิพพานที่จะนำเราไปสู่อายตนนิพพาน
สรุป
เมื่อนักศึกษาได้ทำความเข้าใจทุกหัวข้อแล้ว ทำให้นักศึกษาทราบว่า พระนิพพานนั้นเป็นบทสรุป
ของทุกชีวิตในสังสารวัฏ ซึ่งมีอยู่จริงตามพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอด
ในสรรพสิ่งทั้งปวง หากเราปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา จนสามารถละกิเลสให้หมดสิ้นได้ตามลำดับ ได้เป็น
พระอริยบุคคลแล้ว แม้ในขณะที่มีชีวิตอยู่ก็สามารถเข้าถึงพระนิพพานได้ เมื่อละโลกไปแล้วก็จะกลับไปสู่
พระนิพพาน ไม่มีวันที่จะต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป จะหลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิดในภพ 3 พ้นจากกฎของ
ไตรลักษณ์ ดังนั้นนิพพานจึงเป็นดินแดนอันเกษมที่สงบ ปราศจากความทุกข์ทั้งปวง มีสุขเพียงอย่างเดียว
สมดังพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่า “นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง”
ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 169