การวิเคราะห์ลักษณะของคนธรรพ์และเทพเจ้าในตำนานไทย GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 112
หน้าที่ 112 / 180

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อและลักษณะของคนธรรพ์ชั้นสูงและชั้นล่างในวรรณกรรมไทย รวมถึงการดำรงชีวิตและบทบาทในสังคมของพวกเขา โดยมุ่งเน้นไปที่การมีอำนาจในด้านดนตรี ศิลปะ และการศึกษา นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงท้าววิรุฬหกและท้าววิรูปักษ์ ที่ปกครองสวรรค์ โดยท้าววิรุฬหกดูแลพวกครุฑ และท้าววิรูปักษ์ดูแลพวกนาค ที่มีความสำคัญในตำนาน

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะคนธรรพ์
-บทบาทเทพเจ้า
-วิทยาธร
-กุมภัณฑ์
-ท้าววิรุฬหก
-ท้าววิรูปักษ์
-พญานาค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

102 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า ของคนธรรพ์ชั้นสูง ส่วนคนธรรพ์ชั้นล่างอยู่บนพื้นมนุษย์ เป็นชาวพื้นบ้าน มีทั้งที่มีครอบครัว และไม่มีครอบครัว สิงอยู่ในต้นไม้จำพวกไม้หอม เช่น นางตะเคียน นางตานี คนธรรพ์มีความถนัดในการดนตรี การละคร ระบำรำฟ้อน ศิลปะ วรรณกรรม กวีนิพนธ์ เมื่อมีเทว สมาคมครั้งใดคนธรรพ์มักทำหน้าที่ ขับกล่อมให้ความ สำราญแก่หมู่ทวยเทพทั้งหลาย คนธรรพ์นี้เมื่อครั้งเป็น มนุษย์ทำบุญเจือด้วยกามคุณ จึงได้มาเกิดเป็นคนธรรพ์ วิทยาธร เป็นพวกที่ทรงความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ตั้งแต่ศิลปศาสตร์ 18 ประการ เป็นพวกที่ศึกษาศาสตร์ ต่างๆ เช่น แพทยศาสตร์ โหราศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น พวกนี้เหาะได้ มีเวทมนต์ คาถาอาคมต่างๆ วิทยาธร มีรูปร่างหลากหลาย อยู่แบบเดี่ยวก็มี อยู่เป็นหมู่เป็นกลุ่ม ก็มี มีคู่ครองก็มี ไม่มีคู่ครองก็มี เป็นทั้งฤาษี นักบวช นักพรต คล้ายๆ มนุษย์ธรรมดาก็มี กุมภัณฑ์ นี้มีรูปร่างแปลก หน้าตาพองๆ ไม่น่า กลัวเหมือนยักษ์ และก็ไม่ใช่ยักษ์ ไม่มีเขี้ยว ผมหยิกๆ ผิว ดำ ท้องโต พุงโร และมีอัณฑะเหมือนหม้อ กุมภัณฑ์มีตั้งแต่ ชั้นสูงจนถึงชั้นล่างมีหน้าที่ลงไปทรมานสัตว์นรกในยมโลก 2. ท้าววิรุฬหก ปกครองสวรรค์ด้านทิศใต้ มี หน้าที่ปกครองพวกครุฑ เหตุที่มาเกิดเป็นครุฑ เพราะทำ บุญเจือด้วยมานะทิฏฐิ มีความถือตัวอยู่มาก 3. ท้าววิรูปักษ์ ปกครองสวรรค์ด้านทิศตะวัน ตก มีหน้าที่ปกครองพวกนาค เหตุที่มาเกิดเป็นนาคเพราะ ทำบุญเจือด้วยมานะทิฏฐิ มีความถือตัวอยู่มาก พญานาค เป็นราชาแห่งงู จัดเป็นเดรัจฉานด้วย เหมือนกัน เพราะมีลำตัวไปทางขวางและไม่สามารถบรรลุ ธรรมได้ แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหา ราชิกาด้วย นาคแบ่งออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูล วิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง ตระกูลเอราปถ พญานาค ตระกูลสีเขียว ตระกูลฉัพพยาปุตตะ พญานาคตระกูลสีรุ้ง และตระกูลกัณหาโคตมะ พญานาคตระกูลสีดำ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More