การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 17
หน้าที่ 17 / 180

สรุปเนื้อหา

สัมพุทธเจ้าตรัสถึงการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏในมหาสีหนาทสูตร โดยแสดงให้เห็นว่าหมายถึงการเวียนว่ายในภูมิที่ต่างกัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เหฏฐิมสงสาร, มัชฌิมสงสาร, และอุปริมสงสาร โดยมีการวิเคราะห์ถึงการดำรงอยู่หลังความตายจากการกระทำที่ถูกส่งผลตามกฎแห่งกรรม รวมถึงความเชื่อมโยงกับไตรลักษณ์ที่เป็นธรรมชาติที่ทุกชีวิตต้องเผชิญ หรือมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไป.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสังสารวัฏ
-ประเภทของสังสารวัฏ
-การเวียนว่ายในชีวิตหลังความตาย
-กฎแห่งกรรม
-ไตรลักษณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สัมพุทธเจ้าตรัสถึงการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏไว้ใน มหาสีหนาทสูตร ว่า “ดูก่อนสารีบุตร มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะและทิฏฐิอย่างนี้ว่า ความหมดจดย่อม มีได้ด้วยสังสารวัฏ ดูก่อนสารีบุตร ก็สังสารวัฏที่เราไม่เคยท่องเที่ยวไป โดยกาลยืดยาวช้านานนี้ เว้นแต่ขั้นปัญจสุทธาวาส เป็นสิ่งที่หาไม่ได้ง่ายนัก จากพระสูตรนี้ แสดงให้เห็นว่า ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ยัง ต้องเวียนว่ายตายเกิดใน 31 ภูมิ เว้นแต่ปัญจสุทธาวาส เพราะเป็นภูมิที่อุบัติของพระอนาคามีบุคคลเท่านั้น ที่สามารถทำความเพียรจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ได้ ซึ่งพระองค์ไม่ได้มุ่งหมดกิเลสในภพนั้น และแม้แต่ สรรพสัตว์ทั้งหลายก็ยังคงเวียนวนไปมาในภพภูมิต่างๆ ด้วยอาการที่เวียนว่ายตายเกิดนี้ จึงเรียกว่า วัฏสงสาร ซึ่งสามารถจําแนกเป็น 3 ประเภท คือ 1. เหฏฐิมสงสาร คือ การท่องเที่ยวไปในโลกเบื้องต่ำ ซึ่งมีอยู่ 4 ภูมิ ได้แก่ นิรยภูมิ คือ โลกนรก ซึ่งมีทั้งมหานรก อุสสทนรก ยมโลก เปตติวิสัยภูมิ เป็นโลกของเปรต อสุรกายภูมิ เป็นโลกของอสุรกาย และดิรัจฉานภูมิ โลกของสัตว์เดียรัจฉาน 2. มัชฌิมสงสาร คือ การท่องเที่ยวไปในโลกเบื้องกลาง มีอยู่ 7 ภูมิ คือ มนุสสภูมิ เป็นโลกมนุษย์ และเทวภูมิ 6 ภูมิ คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี 3. อุปริมสงสาร คือ การท่องเที่ยวไปในโลกเบื้องสูง เป็นที่อยู่ของรูปพรหมผู้ได้บรรลุรูปฌาน สมาบัติ ตั้งแต่ปฐมฌาน จนถึงจตุตถฌาน มีอยู่ 20 ภูมิ คือ พรหมปาริสัชชา ปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญีสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฏฐา และอรูปพรหมผู้ได้บรรลุฌานสมาบัติที่ละเอียดกว่ารูปพรหม 4 ภูมิ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ในหัวข้อนี้ นักศึกษาได้ทำความเข้าใจมากขึ้น ในเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ทั้ง หลายหลังจากที่ตายแล้วว่า จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งหลายดังที่กล่าวมาแล้ว และไม่ใช่เป็นการ ตายเกิดเพียงภูมิเดียว หรือชาติเดียว แต่เป็นการเวียนว่ายตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วน จนกว่าจะละอกุศล สั่งสมกุศล จนเป็นเหตุให้กำจัดกิเลสในตัวให้หมดสิ้น ไปสู่ฝั่งแห่งพระนิพพานได้ ซึ่งปรโลกนี้เป็นส่วนหนึ่ง ของวัฏสงสารที่ประกอบด้วย กิเลสภายในตัวของสรรพสัตว์ทั้งหลาย สถานที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลายที่มีผล อันเนื่องมาจากการกระทำที่เรียกว่า วิบาก และกฎแห่งกรรมที่ทำให้สัตว์ทั้งหลายเวียนว่ายอยู่ในภูมิต่างๆ 1.1.3 ปรโลกตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ปรโลกเป็นสถานที่อยู่ของชีวิตหลังความตาย เป็นสถานที่หมุนเวียนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ ประกอบกุศลกรรม และอกุศลกรรมได้วนเวียนไปมา เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ตามแต่อกุศลและกุศลที่ได้ สั่งสมไว้ครั้งเป็นมนุษย์ และปรโลกยังตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์เช่นเดียวกับโลกมนุษย์อีกด้วย เป็นกฎ ธรรมชาติที่ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงไปได้ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปในที่สุด มหาสีหนาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 18 ข้อ 187 หน้า 60. ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 7
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More