ข้อความต้นฉบับในหน้า
เงิน เรียกว่า รัชตวิมาน วิมานทอง เรียกว่าสุวรรณวิมาน วิมานแก้วเรียกว่า รัตนวิมาน จะเป็นของเทพผู้
มีบุญบารมีมาก สุวรรณวิมานเป็นของเทพผู้มีบุญรองลงมา ส่วนรัชตวิมานนั้นเป็นของผู้มีบุญน้อยที่สุด
การบริโภคกามของเหล่าเทพบุตรและเทพธิดา ไม่มีการเสพเมถุนแบบมนุษย์ เพียงแค่สัมผัส จับ
มือ แตะตัว แล้วก็มีความพึงพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย สวรรค์ชั้นนี้ไม่มีการตั้งครรภ์ ไม่มีการเกิดอย่างมนุษย์
ไม่มีการเกิดแบบชลาพุชะ อัณฑชะ สังเสทชะ มีการเกิดแบบโอปปาติกะเพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับ
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นยามา และสวรรค์ชั้นดุสิต
4.6.4 อายุขัยของสวรรค์ชั้นนิมมานรดี
อายุของชาวสวรรค์ชั้นนี้ มีปรากฏใน วิตถตสูตร ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 800 ปีมนุษย์เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของเทวดาชั้นนิมมานรดี 30 ราตรี
โดยราตรีนั้นเป็นเดือนหนึ่ง 12 เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง 8,000 ปีทิพย์โดยปีนั้น
เป็นประมาณอายุของเทวดาชั้นนิมมานรดี”
จากพระสูตรนี้ ทำให้เราทราบอายุของสวรรค์ชั้นนี้ว่า มีอายุ 8,000 ปีทิพย์ อายุของสวรรค์ชั้นนี้
มากกว่าสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาถึง 16 เท่า ถ้านับเป็นอายุมนุษย์ก็เท่ากับ 2,304 ล้านปีในเมืองมนุษย์
4.7 ปรนิมมิตวสวัตตีเทวภูมิ
สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เป็นสวรรค์ชั้นที่ 6 และชั้นสุดท้ายของเทวภูมิ จัดอยู่ในกามภพ เป็น
ปรโลกฝ่ายสุคติภูมิ เป็นสวรรค์ที่มีอายุทิพย์ วรรณทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์
กลิ่นทิพย์ ละเอียดและประณีตกว่าสวรรค์ทั้ง 5 ชั้นที่ผ่าน ซึ่งมีความแตกต่างจากสวรรค์ชั้นอื่นในเรื่องการ
เสวยสมบัติที่ประณีตขึ้น เป็นสวรรค์ชั้นสุดท้ายที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้
4.7.1 คำแปลและความหมาย
ปรนิมมิตวสวัตดี หมายถึง เทวดาที่มีความสุขความเพลิดเพลินในกามคุณทั้ง 5 เป็นอย่างยิ่ง โดย
ที่ตนไม่ต้องเนรมิตขึ้นเอง แต่มีเทวดาองค์อื่นคอยเนรมิตให้สมตามความปรารถนาทุกประการ หรืออีกนัยหนึ่ง
คือ ที่อยู่ของเหล่าเทวดาผู้มีท้าวปรนิมมิตวสวัตดีเทวราชเป็นผู้ปกครอง
4.7.2 ที่ตั้งและลักษณะของสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี
สวรรค์ชั้นนี้ มีความกว้างใหญ่ไพศาลมากกว่าสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นนี้ อยู่สูง
ขึ้นไปจากยอดเขาสิเนรุ อยู่ในอากาศเหนือสวรรค์ชั้นนิมมานรดี 42,000 โยชน์ บนสวรรค์ชั้นนี้จะไม่มี
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทำให้ไม่มีเงา ไม่มีมุมมืดบนสวรรค์ อยู่ได้ด้วยความสว่างจากวัตถุสิ่งของต่างๆ
เช่น กายของเหล่าเทวดาก็สว่าง วิมาน สวน สระ สิ่งแวดล้อมต่างๆ มีแต่ความสว่าง
-วิตถตสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 132 หน้า 506,
122 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า