สังสารวัฏ: การเวียนว่ายตายเกิดในพุทธศาสนา GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 16
หน้าที่ 16 / 180

สรุปเนื้อหา

พระดำรัสของพระพุทธเจ้าให้เห็นว่า ชีวิตมนุษย์ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภูมิต่างๆ ตามผลของการกระทำในอดีต สังสารวัฏหมายถึงการเดินทางของวิญญาณในสามภพและการกำเนิดในทั้งสี่ประเภท เราจะค้นหาความหมายเหล่านี้ในศัพท์เช่น ภพ 3 กำเนิด 4 คติ 5 วิญญาณฐิติ 7 และสัตตาวาส 9 ที่แสดงให้เห็นถึงประเภทของที่อยู่ของสรรพสัตว์และการพัฒนาไปสู่การหลุดพ้นจากวงจรนี้ ความเข้าใจในประเภทการเกิดและการจำแนกแทบมีความสำคัญต่อการช่วยให้เรามองเห็นความจริงแห่งชีวิตและการสรรเสริญคุณค่าของการกระทำในแต่ละภพ

หัวข้อประเด็น

-สังสารวัฏ
-การเวียนว่ายตายเกิด
-ประเภทการเกิด
-ความหมายของภพ
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระดำรัสของพระพุทธเจ้านี้แสดงให้เห็นว่า ชีวิตมนุษย์ไม่ได้สิ้นสุดที่เชิงตะกอน แต่ยังต้องเวียน ว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิต่างๆ อีกมากมาย นับภพนับชาติไม่ถ้วน ตราบวันสิ้นกิเลส มีคำศัพท์ที่น่าสนใจคำหนึ่ง คือ คำว่า “สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร” ตามพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายไว้ว่า “การเวียนว่ายตายเกิด” หมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน ภพ 3 ในกำเนิดทั้ง 4 คติ 5 วิญญาณฐิติ 7 (ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ) หรือสัตตาวาส 9 (ภพเป็นที่อยู่ของ สัตว์) เวียนว่ายตายเกิดจากภพนั้นไปภพนี้ กำเนิดนั้นไปกำเนิดนี้ วนเวียนไปมาตามกำลังบุญและบาปที่ตน กระทำไว้ ขอขยายความเพิ่มเติมในศัพท์เหล่านี้ เพื่อให้เข้าใจความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น ภพ 3 หมายถึง 1. กามภพ 2. รูปภพ 3. อรูปภพ กำเนิด 4 หมายถึง 1. กำเนิดในไข่ (อัณฑชะ) 2. กำเนิดในครรภ์ (ชลาพุชะ) 3. กำเนิดใน เหงื่อไคลหมักหมม (สังเสทชะ) 4. กำเนิดแบบเกิดแล้วโตทันที (โอปปาติกะ) คติ 5 หมายถึง 1. นรก 2. สัตว์เดียรัจฉาน 3. เปรต 4. มนุษย์ 5. สวรรค์ (ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึง เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ) วิญญาณฐิติ 7 คือ ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี 7 อย่าง ได้แก่ 1. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น มนุษย์ เทพบางเหล่า 2. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พรหมผู้กำเนิดในภูมิปฐมฌาน (พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา พรหมมหาพรหม) 3. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกาย อย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกอาภัสสราพรหม 4. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญา อย่างเดียวกัน เช่น สุภกิณหพรหม 5. สัตว์เหล่าหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ 6. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ 7. สัตว์เหล่าหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ สัตตาวาส 9 คือ ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์ มี 9 อย่าง เหมือนกับวิญญาณฐิติ 7 ต่างกันตรงที่เพิ่มข้อ 5 เข้ามาเป็น สัตว์เหล่าหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่มีการเสวยเวทนา เช่น พวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์ เลื่อนข้อ 5 6 7 ออกไปเป็นข้อ 6 7 8 แล้วเพิ่มข้อ 9 คือ สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ สรุปว่า ศัพท์ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นภพภูมิที่ตั้งของปรโลก เพียงแต่จำแนกแยกแยะให้เหมาะกับ เหตุการณ์ หรือเหมาะสมกับการนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ แต่ความหมายโดยรวมแล้ว หมายถึง สถานที่อยู่ของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในภพภูมิต่างๆ ของปรโลก หากจะอุปมาให้เข้าใจง่ายขึ้นก็เหมือนกับ การจำแนกประเภทสัตว์ เช่น สัตว์มี 2 ชนิด คือ สัตว์บก สัตว์น้ำ ถ้ามี 3 ชนิด ก็จะเพิ่ม สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือแยกสัตว์ตามประเภทของจำนวนขาสัตว์ อาจจะได้ 3 ประเภท คือ สัตว์มีเท้ามาก สัตว์มีเท้าน้อย สัตว์ไม่มีเท้า สามารถแยกให้เหมาะสมกับการนำใช้งานว่า เหมาะสมกับงานใด แต่ทั้งหมดก็หมายถึง สัตว์เดียรัจฉานทุกชนิดในโลกนั่นเอง สรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏนี้ จึงเหมือนถูกขังอยู่ในคุกขนาดใหญ่ อุปมา เหมือนเชลยศึกที่ถูกจองจำ เป็นประดุจโคงานที่เขาเทียมไว้ หรือประดุจวัวที่ผูกไว้กับหลัก ซึ่งพระสัมมา * พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542, กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ 2546, หน้า 1161. 6 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More