ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทสรุปของลักษณะแรกนี้บ่งบอกถึงผลของการปฏิบัติที่ถูกวิธีตามลำดับก่อนจะถึงนิพพานสุข
แท้จริงว่า ต้องได้รับผลคือความสุข(เว้นกามสุข) ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติและการเข้าถึง ยิ่งมีความสุข
เพิ่มขึ้นเรื่อยไปนั่นแสดงว่าถูกหนทางนิพพานแล้ว เพราะปฏิปทาข้อปฏิบัติให้ถึงนิพพานกับนิพพานต้องมี
รสเป็นอันเดียวกันคือความสุขจากการหลุดพ้น
2. นิพพานเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่แปรปรวน ไม่สูญหาย เป็นธรรมชาติที่มีอยู่จริงโดยปรมัตถ์
ทุกข์อย่างหนึ่งของสรรพสัตว์โดยเฉพาะมนุษย์เรา คือ ความพลัดพราก ความแปรปรวนไป
ไม่ยั่งยืนจากสิ่งอันเป็นที่รัก และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สภาพร่างกาย
ของตนเองล้วนทำให้เกิดทุกข์และเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาทั้งสิ้นแต่สิ่งอะไรก็ตามที่เที่ยงแท้ถาวรไม่เป็นอื่นอีก
ก็น่าไปอยู่ น่าสัมผัส น่าปรารถนา และน่าจะไปเป็นสิ่งนั้น ดังนั้นก็หาไม่ได้ในภพ 3 นอกจากพระนิพพาน
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน โมฆราชมาณวกปัญหานิทเทส" ว่า
“บุคคลไม่พึงปรารถนาภพหรืออัตภาพอะไรๆ อื่น เว้นไว้แต่พระนิพพาน (อายตน
นิพพานและพระธรรมกายที่เข้านิพพาน) อันไม่มีปฏิสนธิ”
อาจมีผู้สงสัยว่า แม้เราบรรลุนิพพานแท้จริงด้วยอัตภาพใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม
อรูปพรหม แต่ถ้ายังเป็นกายในภพสามอันมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และอนัตตามิใช่ตัวตนที่แท้จริง กาย
เหล่านั้นก็จำต้องแตกสลายไปในที่สุด ไม่สามารถที่จะเสวยผลแห่งนิพพานสุขตลอดนิรันดร์กาลได้ เพราะ
พระอรหันต์บางท่านก็นิพพานเร็วนัก เช่น พระพาหิยะพอบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ ขณะที่แสวงหาบาตร
จีวรเพื่ออุปสมบท ยังมิทันได้บริขารก็ถูกโคขวิดนิพพานก่อน หรือพระโคธิกเถระเชือดคอตนเองพร้อมกับ
การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ก็นิพพานทันที เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่อุตสาหะเพียรพยายามสั่งสมบุญบารมี
มาตลอด แสนมหากัปบ้าง เป็นอสงไขยอันนับมิได้บ้าง เพื่อจะเข้าถึงนิพพานสุขซึ่งมีสภาพเที่ยง จะมี
ประโยชน์อย่างไร
ปัญหานี้คงเป็นที่คลางแคลงใจของบางท่านที่เป็นนักคิดใฝ่หาความรู้ หากไปถามนักปริยัติหรือนัก
วิชาการ คงได้คำตอบว่า ก็ความดับสูญไปไม่ต้องรับทุกข์อีกนั่นคือเป็นการเสวยผลนิพพานสุข ซึ่งเราคงคิด
ต่อไปอีกว่า ดับสูญไปแล้วจะเป็นสุขอย่างไร การถามตอบก็คงจะไม่จบ เพราะผู้ตอบตอบได้เพียงหลักการ
อนึ่งพระนิพพานก็มิได้อยู่ในวิสัยของการตรึกนึกคิด ฉะนั้นทางที่ถูกต้องคงต้องหาคำตอบจากท่านผู้รู้ที่
ปฏิบัติเข้าถึง เห็นได้เฉพาะตนแล้ว และตัวเราเองก็ต้องลงมือปฏิบัติธรรม คือ ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
กันอย่างจริงจัง จึงจะหาคำตอบที่มาพร้อมกับความสุขได้ ในที่นี้จึงต้องขอยกตัวอย่างคำอธิบาย การเจริญ
ภาวนาวิชชาธรรมกายของ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) กล่าวไว้โดยสรุปความว่า
ในตัวบุคคลจะมีกายภายในซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ ทั้งหยาบละเอียดรวม 18 กายคือ ตั้งแต่
กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด
1 โฆษราชมาณวกปัญหานิทเทส, ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส, มก. เล่ม 67 ข้อ 505 หน้า 388-397.
164 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า