เปรต อสุรกาย และติรัจฉานภูมิ: ความเข้าใจเกี่ยวกับอบายภูมิ GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 79
หน้าที่ 79 / 180

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับเปรตและอสุรกายซึ่งมีลักษณะคล้ายกันแต่มีความทุกข์แตกต่างกัน ในขณะที่เปรตทรมานเพราะความหิว อสุรกายมีความทุกข์เพราะกระหายน้ำ ทั้งสองชนิดต้องประสบกับความลำบากในชีวิต อย่างไรก็ตาม ติรัจฉานภูมิเป็นสถานที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีความพิการในการเคลื่อนไหวและไม่สามารถบรรลุธรรม อย่างน้อยก็สามารถทำความดีเพื่อไปสวรรค์ได้ การทำความดีและละชั่วมีผลต่อการเข้าถึงชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการเปิดใจเพื่อบรรลุธรรมในนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างระหว่างเปรตและอสุรกาย
-ความทุกขเวทนาของเปรตและอสุรกาย
-ติรัจฉานภูมิและสัตว์ในอบาย
-กรรมและผลของการกระทำในอบายภูมิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากข้อความที่กล่าวมานี้ นักศึกษาคงพอจะเห็นความแตกต่างระหว่างเปรตกับอสุรกายบ้าง โดย รูปลักษณ์แล้ว เปรตกับอสุรกายมีความคล้ายกันมาก แต่ว่าอสุรกายนั้นจะมีรูปร่างที่พิลึกประหลาดมากกว่า อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างได้ ในการพิจารณาจึงให้ดูที่ลักษณะของ ทุกขเวทนาที่ได้รับ ความทุกข์ทรมานของเปรตนั้น เนื่องมาจากความหิว ความอดอยากเข้าครอบงำเป็นหลัก ส่วนอสุรกายนั้น มีความทุกข์ทรมานเพราะความกระหายน้ำเป็นหลัก สัตว์ในภูมิทั้ง 2 นี้ ต้องประสบกับ ความลำบากในการครองชีวิตอย่างแสนสาหัส เพราะว่าเขาเป็นสัตว์ในอบายภูมิ คือ ภูมิที่มีแต่ความชั่วร้าย ไม่มีความสุขนั่นเอง นักศึกษาคงจะรู้จักอสุรกายภูมิมากขึ้นแล้ว ทั้งรูปร่างลักษณะ ความเป็นอยู่ กรรมที่ทำให้เกิดมา เป็นอสุรกาย และความแตกต่างระหว่างเปรตกับอสุรกาย ดังนั้น การกระทำของเรามีผลต่อการไปสู่อบาย มีนรก เปรต อสุรกายทั้งสิ้น แม้อสุรกายจะมีความทุกข์ทรมานที่น้อยกว่าก็ตาม เพราะฉะนั้นชีวิตมีเวลาจำกัด ทุกวินาทีต้องละชั่ว ทำดี ทำจิตให้ผ่องใส เพื่อจะได้พ้นภัยจากอบายกันทุกคน 2.4 ติรัจฉานภูมิ นักศึกษาได้ทำความเข้าใจเรื่องของอบายภูมิมาได้ 3 หัวข้อแล้ว ลำดับต่อไปนักศึกษาได้ทำความ เข้าใจรายละเอียดของอบายภูมิลำดับสุดท้าย คือ ติรัจฉานภูมิ อันเป็นหนึ่งในอบายภูมิ 4 จัดอยู่ในปรโลก ฝ่ายทุคติภูมิ ติรัจฉานภูมิ คือ โลกของสัตว์ผู้ไปโดยขวาง คือเวลาจะเดินทางไปไหนมาไหนต้องไปโดยอาการ ขวางลำตัว อกขนานไปกับพื้น ต้องคว่ำอกไป เช่น สุนัข แมว หนู ไก่ เป็ด งู ปลา เป็นต้น นอกจาก ร่างกายต้องไปอย่างขวาง หรืออีกนัยหนึ่งว่า มี จิตใจที่ขวางอีกด้วย คือขวางจากมรรคผลนิพพาน แม้จะทำความดีเท่าไร ก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผล นิพพานในชาตินั้นได้ อย่างมากที่สุดก็ได้เพียง ทำใจให้เลื่อมใส ละโลกแล้วไปสวรรค์เท่านั้น 2.4.1 ที่ตั้งของติรัจฉานภูมิ สัตว์ที่ไปเกิดเป็นเดียรัจฉาน เราสามารถ มองเห็นรูปร่างลักษณะได้ชัดเจนไม่เหมือนกับเปรต หรืออสุรกาย ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเนื้อได้ สัตว์เดียรัจฉานบางชนิดมีความคุ้นเคยกับมนุษย์ เพราะอาศัยอยู่ด้วยกัน แต่โดยสภาพรวมๆ แล้ว สัตว์เดียรัจฉานอาศัยอยู่ไม่เป็นที่ และไม่มีที่อยู่เป็นของตนโดยเฉพาะ ไม่เหมือนสัตว์ที่ไปเกิดในนรก ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 69
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More