กฎแห่งกรรมและผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 25
หน้าที่ 25 / 180

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงกฎแห่งกรรมซึ่งระบุว่าผลแห่งกรรมที่บุคคลทำจะส่งผล่ต่อบุคคลนั้นในชีวิตและปรโลก คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายืนยันว่าคนที่ทำกรรมดีจะได้รับผลดี ขณะที่คนที่ทำกรรมชั่วจะหนีกรรมชั่วไม่พ้น เช่น ผู้ที่หนีไปที่ไหนก็ไม่สามารถพ้นจากผลกรรมของตนได้ หากไม่มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ย่อมทำให้คนละเลยการทำความดีและเสพติดการกระทำที่ไม่ถูกต้อง โดยเชื่อว่าการมีความเชื่อในกฎแห่งกรรมจะนำไปสู่การสร้างบุญและบาปอย่างถูกต้องเพื่อให้ชีวิตมีสันติสุขในอนาคต

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว
-การสร้างบุญและบาป
-อารมณ์ก่อนตาย
-การส่งผลของกรรมในปรโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“บุรุษทำกรรมเหล่าใดไว้ เขาย่อมเห็นกรรมเหล่านั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น” เนื่องจากการกระทำของคนทั่วไป มีทั้งกรรมดีและกรรมชั่วปะปนกันไปในแต่ละวัน ทำให้การออก ผลของกรรมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น จึงทำให้ดูเหมือนว่า การให้ผลของกรรมไม่สอดคล้องกับพุทธภาษิต ดังกล่าว เพราะเหตุนี้จึงทำให้มีผู้สงสัยเรื่องกฎแห่งกรรมอยู่เสมอ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสยืนยันว่า กรรมที่บุคคลทำแล้ว ย่อมส่งผลแก่บุคคลนั้นอย่างแน่นอน ดังพุทธภาษิตใน ปาปวรรค ที่ว่าบุคคลทำกรรม ชั่วย่อมหนีกรรมชั่วไปไม่ได้ “บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปใน ท่ามกลางมหาสมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอกภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่” จากที่กล่าวแสดงเรื่องกฎแห่งกรรมมาตามลำดับนั้น คงทำให้นักศึกษาได้เห็นภาพกฎแห่งกรรม ชัดเจนขึ้น และสามารถสรุปได้ว่า กฎแห่งกรรม หรือกฎเหล็กนี้ ย่อมส่งผลต่อผู้กระทำ และมีผลต่อปรโลก ของบุคคลนั้นอย่างแน่นอน ดังพุทธภาษิตใน ปาปวรรค ว่า “ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ผู้มีธรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก ผู้มีกรรมเป็นเหตุ แห่งสุคติ ย่อมไปสวรรค์ ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน” จากพุทธภาษิตนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า หากไม่มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมแล้ว ย่อมปล่อยปละ ละเลยต่อการทำความดี ยินดีต่อการทำบาปอกุศล ทั้งกาย วาจา ใจ เมื่อละโลกแล้ว ย่อมตกไปสู่ปรโลก ฝ่ายทุคติ คืออบายภูมิอย่างแน่นอน แต่หากมีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ย่อมกลัวต่อการทำบาปอกุศล หมั่นสั่งสมกุศล ปรโลกหลังจากความตายของผู้นั้นย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์ได้อย่างแน่นอน ดังนั้น โลกมนุษย์จึงเป็นศูนย์กลางของการสร้างบุญและบาป ใครทำกรรมดีชั่วไว้มากน้อย เบาบาง หรือรุนแรงเพียงใด เขาย่อมได้รับผลแห่งกรรมนั้น เพราะฉะนั้นความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมก็เป็นสิ่งที่ ประเสริฐยิ่ง ควรเพาะให้มีขึ้นในใจของคนทุกคน ถ้าคนทั้งหลายเชื่อมั่นในกฎแห่งกรรมแล้ว เขาจะดำรง ชีวิตอยู่ในโลกอย่างมีความสุขใจ และเป็นสิ่งที่ทำให้คนทั้งหลายต่างขวนขวายทำแต่กรรมดี โดยหวังผลที่ดี ให้เกิดในภายภาคหน้า โลกนี้ก็ย่อมเกิดสันติสุขได้อย่างแน่นอน 1.3.2 ลักษณะของอารมณ์ก่อนตายของผู้จะเดินทางไปสู่ปรโลก คนส่วนใหญ่อาจจะไม่เข้าใจว่า เมื่อคนใกล้ตาย โดยทั่วไปจะมีลักษณะอารมณ์ 3 อย่างเกิดขึ้น ปรากฏ เป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิต ที่จะชักนำให้ไปเกิดในภพภูมิต่างๆ 1. กรรมารมณ์ เป็นอารมณ์ของกรรมที่ตน เคยกระทำไว้ มาปรากฏให้เห็นในขณะจิตที่กำลังใกล้ตาย ปาปวรรค, ขุททกนิกาย ธรรมบท, มก. เล่ม 42 ข้อ 11 หน้า 3. * ปาปวรรค, ขุททกนิกาย ธรรมบท, มก. เล่ม 42 ข้อ 10 หน้า 3. ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 15
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More