กรรมและผลของการกระทำในจูฬกัมมวิภังคสูตร GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 89
หน้าที่ 89 / 180

สรุปเนื้อหา

จูฬกัมมวิภังคสูตรอธิบายว่า กรรมเป็นปัจจัยที่สร้างความแตกต่างในชีวิตมนุษย์ จากการกระทำของเรา ทำให้เกิดผลที่แตกต่าง เช่น การฆ่าสัตว์ส่งผลให้อายุสั้น ขณะที่ไม่ฆ่าสัตว์ส่งผลให้อายุยืน การกระทำทั้งหมดล้วนมีผลต่อชีวิต ควรสร้างกรรมดีเพื่อความสุขและความสำเร็จในชีวิต เช่น บริจาคทานเพื่อเสริมสร้างความมั่งคั่งและความสุขในชีวิต รวมถึงทำให้เราแตกต่างในด้านต่างๆ ของชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกรรม
-ผลการกระทำ
-อยากมีอายุยืน
-บทบาทของการกระทำในชีวิต
-อนาคตที่ดีและกรรมดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทรงให้คำตอบเหล่านี้ไว้แล้วใน จูฬกัมมวิภังคสูตร ว่า “ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรม เป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น ที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลว และ ประณีตได้” จากพุทธพจน์นี้ นักศึกษาคงทราบแล้วว่า การกระทำของเรานั่นเองที่ทำให้เราแตกต่างกันใน หลายๆ ด้าน ซึ่งสามารถสรุปการกระทำที่ทำให้ แตกต่างกัน ดังที่มีปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร เช่นเดียวกัน ดังนี้ ฆ่าสัตว์ ไม่มีความกรุณา เป็นเหตุให้อายุสั้น ไม่ฆ่าสัตว์ มีความกรุณา เป็นเหตุให้อายุยืน เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้มีโรคมาก ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นเหตุให้มีโรคน้อย มักโกรธ มีความคับแค้นใจมาก เป็นเหตุให้ผิวพรรณทราม ไมโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ มีใจประกอบด้วยความริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้ผิวพรรณผ่องใส เป็นเหตุให้มีอานุภาพน้อย มีใจไม่ริษยาผู้อื่น เป็นเหตุให้มีอานุภาพมาก ไม่บริจาคทาน บริจาคทาน กระด้าง ถือตัว เป็นเหตุให้ยากจน อนาถา เป็นเหตุให้มีโภคสมบัติมาก เป็นเหตุให้เกิดในสกุลต่ำ ไม่กระด้าง ไม่ถือตัว เป็นเหตุให้เกิดในสกุลสูง เป็นเหตุให้มีปัญญาน้อย เป็นเหตุให้มีปัญญามาก ไม่อยากรู้ ไม่ไต่ถามผู้มีปัญญา อยากรู้ หมั่นไต่ถามผู้มีปัญญา นักศึกษาจะเห็นว่าทุกการกระทำของเราล้วนมีผลแห่งการกระทำทั้งสิ้น และการกระทำนี้เองที่ทำให้ เราแตกต่างกัน หากจะกล่าวว่า ชีวิตลิขิตได้ด้วยการกระทำของตัวเองก็คงจะได้ความหมายที่ชัดเจนในข้อนี้ เช่น ถ้าต้องการอายุยืน ก็ต้องไม่ฆ่าสัตว์ ปรารถนาทรัพย์ก็ต้องบริจาคทาน ดังที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น ดังนั้นนักศึกษาปรารถนาจะเป็นอย่างไร ต้องประกอบเหตุดังที่กล่าวแล้ว ยิ่งประกอบเหตุที่ดีไว้มากเพียงไร เราก็ยิ่งมีความสมบูรณ์และความสุขมากเพียงนั้น เราจะเป็นผู้ที่โดดเด่นในความแตกต่าง และสามารถใช้ ผลจากการประกอบเหตุนั้นมาสั่งสมความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น หากเรามีทรัพย์มากก็จะทำทานได้มาก จูฬกัมมวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 581 หน้า 251 ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 79
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More