เทวภูมิ: ความเข้าใจเกี่ยวกับสวรรค์ในพระพุทธศาสนา GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 100
หน้าที่ 100 / 180

สรุปเนื้อหา

ชีวิตในสังสารวัฏดำเนินไปโดยมีการเวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด จนกว่าจะหมดกิเลส การศึกษาเกี่ยวกับเทวภูมิ หรือสวรรค์ เผยให้เห็นถึงความสำคัญและความหมายในการดำเนินชีวิตตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของผลบุญจากการกระทำ ในพระไตรปิฎกมีการยืนยันถึงการมีอยู่ของสวรรค์ในหลายชั้น โดยชั้นจาตุมหาราชิกาและดาวดึงส์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับมนุษย์ รวมถึงการปกครองและรายละเอียดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

หัวข้อประเด็น

-เทวภูมิ
-สวรรค์ในพระพุทธศาสนา
-การสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ความสัมพันธ์ระหว่างสวรรค์และมนุษย์
-กุศลกรรมและอบายภูมิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความนํา บทที่ 4 เทวภูมิ ชีวิตในสังสารวัฏเป็นชีวิตที่ยาวนาน หาเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลายได้ยาก ตราบใดที่เรา ยังไม่หมดกิเลส ตราบนั้นเราจะต้องเวียนว่ายตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วน จากการที่นักศึกษาได้เรียนรู้ เรื่องของอบายภูมิ และมนุสสภูมิที่ผ่านมาแล้ว นักศึกษาจะเห็นได้ว่ามนุสสภูมิเท่านั้น ที่สามารถสร้างบุญ และบาปได้อย่างเต็มที่ ส่วนอบายภูมินั้น เป็นสถานที่เสวยผลบาปของบุคคลผู้กระทำอกุศลกรรมด้วยกาย วาจา และใจ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ จะต้องถูกทัณฑ์ทรมานอย่างโหดร้ายเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก หมดโอกาส สร้างความดี และเรื่องเทวภูมิที่นักศึกษาจะได้ศึกษาต่อไปนี้ จะเป็นสถานที่เสวยผลแห่งบุญของผู้ได้กระทำ กุศลกรรมไว้ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เรื่องเทวภูมิ หรือที่เรียกกันว่า สวรรค์นั้น บุคคลบางพวกก็เชื่อว่ามีจริง บางพวกก็เชื่อว่าไม่มีจริง และเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาเพื่อให้คนรักในการทำความดี แม้ในหลายศาสนาก็มีความเชื่อเป็น 2 อย่าง ในลักษณะเดียวกัน แต่ศาสนาส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าสวรรค์มีจริงที่เรียกว่า แดนสุขาวดี ส่วนในพระพุทธ ศาสนานั้นมีหลักฐานยืนยันเรื่องสวรรค์มากมาย จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่บันทึกไว้ในพระ ไตรปิฎก ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวไว้ใน มหาสีหนาทสูตร ว่า “ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า บุคคลนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และขึ้นสู่หนทางนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จัก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ โดยสมัยต่อมา เราย่อมเห็นบุคคลนั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์" และก่อนที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้เรื่องเทวภูมินั้น ในเบื้องต้นนี้จะขอทำความเข้าใจว่า เนื้อหาของ เทวภูมิแต่ละชั้นนั้นจะมีรายละเอียดมากน้อยไม่เท่ากัน เนื่องจากว่า สวรรค์บางชั้นมีความใกล้ชิดและ สัมพันธ์กับภูมิมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ เช่น สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ที่มีเทวดาบางเหล่าอยู่ซ้อนกับ ภพมนุษย์ มีแบ่งการปกครองเป็นเขตซ้อนอยู่ในเมืองมนุษย์ด้วย และสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็เป็นภพที่มีความ เกี่ยวข้องกับมนุษย์และสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้วยเช่นกัน ดังนั้นเรื่องราวที่ปรากฏในพระไตรปิฎกหรือในคัมภีร์สำคัญในพระพุทธศาสนานั้น จะพบข้อมูล ของเทวดาทั้ง 2 ชั้นนี้มากที่สุด ส่วนสวรรค์ชั้นอื่นก็พอมีบ้าง และมีการปกครองที่เป็นเฉพาะของตนเองต่างหาก ไม่เหมือนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาและดาวดึงส์ที่มีความสัมพันธ์กัน จากพื้นมนุษย์ไปถึงดาวดึงส์เลยทีเดียว * มหาสีหนาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 18 ข้อ 175 หน้า 51. 90 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More