ข้อความต้นฉบับในหน้า
จะหลบอยู่แต่ในวิมาน ไม่กล้าออกมาให้ใครเห็น เมื่อครบ 7 วันในเทวโลก เทวดาที่มีจุตินิมิตปรากฏก็จะดับ
วูบไปเลย ส่วนจะไปเกิดที่ไหนก็แล้วแต่บุญบาปที่ตนสั่งสมไว้ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์
ส่วนเทพผู้มีบุญมาก ที่ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต เมื่อรู้ว่าตนจะสิ้นอายุขัย จะไม่หวั่นกลัวต่อ
มรณภัย คือมีความพร้อมเสมอสำหรับการเกิดใหม่ เพราะเคยสั่งสมบุญ ให้ทาน รักษาศีลไว้ดีแล้ว เมื่อครั้ง
เป็นมนุษย์ เมื่ออยู่เทวโลกก็มิได้ประมาทเที่ยวเพลิดเพลินเหมือนอย่างเทพองค์อื่น และมีความมั่นใจว่า เมื่อ
จุติแล้วจะต้องไปเกิดในภูมิที่สูงขึ้น หรือเกิดเป็นมนุษย์ในตระกูลสูง มีสัมมาทิฏฐิ เมื่อบุพนิมิตบังเกิดจะ
พากันไปสู่สวนนันทวัน ซึ่งเป็นอุทยานสวรรค์ มีแท่นจุติให้กับเหล่าเทพที่รู้ตัวว่าจะจุติ เหล่าเทพทั้งหลาย
ที่ทราบข่าวก็จะพากันมาอวยพรให้บังเกิดในภูมิที่ดีมีสุข
เรื่องราวของการอุบัติ และการจุติของเทวดา เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ที่มีเกิดและมีดับ เทวดา
แม้จะสุขสบายเพียงไร แต่ถึงอย่างไรก็ต้องมีวันที่จะจุติ ละจากอัตภาพที่ตนดำรงอยู่เช่นกัน เทวดาทั้ง
หลายที่ยังตกอยู่ในความประมาท ไม่รู้เรื่องราวความจริงของชีวิตก็มาก หลงระเริงเพลิดสนุกสนานใน
ทิพยสมบัติอันไม่จีรัง เมื่อวาระแห่งสุดท้ายของชีวิตมาถึง ย่อมเศร้าโศก พร่ำเพ้อพิไรรำพัน เรื่องนี้ก็เป็น
แง่คิดที่ให้กับการดำรงชีวิตของเราท่านทั้งหลาย ไม่ให้ตกอยู่ในความประมาท หมั่นสั่งสมความดีงาม ฝึกฝน
ตนเองไปสู่ฝั่งแห่งพระนิพพานให้ได้
4.1.4 เหตุให้ได้นามของชาวสวรรค์
ในเมืองมนุษย์มีการตั้งชื่อ นามสกุล ใช้เป็นนามสมมุติสำหรับเรียกขานชื่อคน สัตว์ สิ่งของ เพื่อ
ไม่ให้เกิดความสับสนในการสื่อสารกัน การตั้งชื่อในเมืองมนุษย์ก็ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน บางคนตั้งชื่อ
โดยดูจากวันเดือนปีเกิดของคนนั้นบ้าง ตั้งชื่อตามสถานที่เกิดบ้าง ตั้งชื่อตามความสะดวกบ้าง แต่
เนื่องจากชาวสวรรค์ มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายไม่ต้องขวนขวายเหมือนมนุษย์ ฉะนั้นเรื่องการบังเกิดขึ้น
ของบริวาร วิมาน ทิพยสมบัติทั้งหลายก็ดี จะเกิดด้วยอำนาจแห่งบุญ แม้แต่การบังเกิดขึ้นของชื่อของ
เหล่าเทวดา ก็มีเหตุแห่งการเกิดของชื่อได้อย่างน้อย 5 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 เกิดขึ้นตามชื่อในขณะที่สั่งสมบุญ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เช่น ชื่อมฆมานพ ได้ชวน
สหาย 33 คนสร้างศาลา สร้างถนน สร้างสะพาน บำเพ็ญประโยชน์ให้สังคม พอท่านไปเกิดเป็นพระราชา
ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านได้ชื่อว่า ท้าวมฆวาน
ประการที่ 2 เกิดตามธรรมที่ประพฤติ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เช่น เทวบุตรองค์หนึ่ง ชื่อ
ขันติกเทวบุตร เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ประพฤติขันติธรรม คือ มีความอดทนตลอดชีวิตของท่าน ไม่ว่าจะมี
ปัญหาอะไรเกิดขึ้น ก็อาศัยความอดทนเป็นพื้นฐาน เมื่อละโลกแล้ว บังเกิดบนสวรรค์จะมีส่วนแห่งนามว่า
ขันติกเทวบุตร
ประการที่ 3 เกิดตามวัตถุทานที่นำไปถวายสงฆ์ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เช่น ในสมัยพุทธกาลมี
หญิงคนหนึ่งนำข้าวตอกไปถวายพระมหากัสสปะ ถวายเสร็จได้ถูกงูพิษกัดตาย เมื่อไปเกิดบนสวรรค์ วิมาน
มีข้าวตอกและรัตนชาติแขวนประดับเต็มไปหมด เทพธิดานั้น ได้ชื่อว่า ลาชธิดา หรือเทพธิดาข้าวตอก อีก
ตัวอย่างหนึ่ง มีเทวบุตรชื่อ ปทุมฉัตร เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้นำดอกบัวไปบูชาพระเจดีย์ เมื่อละโลกได้
94 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า