ข้อความต้นฉบับในหน้า
สัตว์นรกทั้งหลายนั้นมีสถานที่อยู่เป็นขุม สัตว์ถ้าทำบาปหนาก็ไปตกนรกขุมใดขุมหนึ่ง ต้องเสวยผลแห่ง
กรรมชั่วของตนในนรกขุมนั้น ถ้าบาปยังมีก็ไปเกิดในขุมอื่นต่อไป เมื่อหมดกรรมแล้ว จึงจะไปเกิดในภูมิอื่น
ต่อไปตามยถากรรม แต่สัตว์ที่เกิดในติรัจฉานภูมินี้ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องเที่ยวอยู่ไปมาบนพื้นดิน ในป่า ในน้ำ
บนโลกมนุษย์นี้ ซึ่งนักศึกษาคงทราบดีอยู่แล้วว่า มีสัตว์เดียรัจฉานอยู่มากมาย ที่เราทั้งหลายได้เห็นกันอยู่
โดยทั่วไป
2.4.2 ความเป็นอยู่ของสัตว์เดียรัจฉาน
หากจะกล่าวถึงความเป็นอยู่ของสัตว์เดียรัจฉานแล้ว สัตว์เดียรัจฉานมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก
ยากเข็ญกว่ามนุษย์มากนัก เพราะมีภัยแห่งชีวิตรอบด้าน การที่สัตว์จะมีชีวิตอยู่รอดไปแต่ละวันนั้น แสน
จะลำบากยากเย็น เป็นชีวิตที่ตกต่ำแสนจะอาภัพ ได้รับแต่ความไม่สบายรอบด้าน ต้องแสวงหาอาหารกิน
ตลอดเวลา กว่าจะได้อาหารมาก็ต้องแก่งแย่งกันอย่างดุเดือด มีความหวาดระแวงภัยอยู่เป็นนิตย์ ไม่ว่าจะ
เป็นภัยจากมนุษย์คอยตี คอยฆ่า ภัยจากสัตว์ใหญ่กว่าคอยขบกัด สารพัดจะต้องทนทุกข์ทรมาน และต้อง
เป็นสัตว์เดียรัจฉานอยู่อย่างนี้ไปจนกว่าจะสิ้นกรรมที่ทำไว้ ไม่ใช่ว่าจะตายเกิดในชาติเดียวเท่านั้น แต่ต้อง
ตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วน เป็นสัตว์ชนิดนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก แล้วแต่กรรมที่ตนกระทำไว้
ถึงแม้โลกของสัตว์เดียรัจฉานนี้ จะมีทุกข์ทรมานเรื่องการหาอาหาร เรื่องความหวาดระแวงใน
การดำรงชีวิต แต่ก็ยังมีความโชคดีกว่าสัตว์นรก เปรต อสุรกาย ที่ต้องเสวยผลแห่งกรรมอย่างเผ็ดร้อน
ถูกทัณฑ์ทรมานอยู่ตลอดเลา ยังพอจะมีความน่าชื่นชมยินดีอยู่บ้าง เพราะมีอกุศลเบาบางกว่าบ้าง เป็น
เศษกรรมแล้ว แม้จะต้องประสบความลำบากอย่างไร ก็ยังมีความน่ายินดีอยู่ 3 ประการ
1. กามสัญญา
รู้จักเสวยกามคุณ
2. โคจรสัญญา รู้จักกิน (รวมถึงรู้จักนอนด้วย)
3. มรณสัญญา
รู้จักกลัวตาย
ติรัจฉานภูมิจึงมีความหมายได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นโลกของสัตว์ที่มีความยินดีในเหตุ 3 ประการ
ส่วนธรรมสัญญา ความรู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี หรือรู้จักกุศล อกุศลนั้น สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลาย
ไม่มีเลย เว้นแต่สัตว์เดียรัจฉานบางจำพวก เช่น โพธิสัตว์ จึงจะมีธรรมสัญญาปรากฏได้ แต่ไม่ใช่จะหาง่าย
ในโลกนี้
2.4.3 ประเภทของสัตว์เดียรัจฉาน
สัตว์เดียรัจฉานมีจำนวนมากมายเหลือประมาณ มากกว่ามนุษย์มากนัก อยู่บนบกเหมือนมนุษย์
ก็มีอยู่ในน้ำก็มี และมีมากกว่าอยู่บนบกเสียอีก รูปร่างก็แตกต่างกันสุดจะพรรณนา ขนาดของสัตว์เดียรัจฉาน
มีตั้งแต่ใหญ่โตมาก เช่น ช้าง และขนาดเล็กจนแทบจะมองไม่เห็นก็มี จากตำราทางพระพุทธศาสนา มีการ
จำแนกประเภทของสัตว์เดียรัจฉานออกเป็น 4 ชนิด คือ
70 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า