ความเข้าใจเกี่ยวกับยมโลกและนรกในพระพุทธศาสนา GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 61
หน้าที่ 61 / 180

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เจาะลึกถึงความเข้าใจเกี่ยวกับยมโลกและนรกในพระพุทธศาสนา โดยเน้นที่หลักการทำบุญและบาป บุญที่ปฏิบัติได้รับอานิสงส์มากน้อยอย่างไรและความสำคัญของการทำบุญกับพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายที่ตั้งและจำนวนของยมโลก รวมถึงรายละเอียดของยมโลกแต่ละขุมที่อยู่ภายใต้เขาตรีกูฏและเป็นบริวารของมหานรกทั้ง 8 ขุม เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจลักษณะของยมโลกแต่ละขุมอย่างละเอียด เพิ่มเติมสามารถค้นคว้าจากเทวทูตสูตรได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- การทำบุญและบาป
- รายละเอียดของยมโลก
- ที่ตั้งและจำนวนของยมโลก
- ประเภทของนรกในพระพุทธศาสนา
- หลักการทำบุญในทางพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ครั้งเป็นมนุษย์ ถ้าใครพอทำบุญมาบ้าง เมื่อภาพที่สุวรรณเลขาปรากฏ การที่จะนึกถึงบุญได้ก็มีมาก โอกาส ที่จะต้องไปเกิดในอบายภูมิก็น้อย แต่หากทำบาปมาก ทำบุญบ้างนิดหน่อย อย่างกรณีตัวอย่าง ทำแล้วไม่ ถูกหลักการทำบุญในทางพระพุทธศาสนา ทำกับสัตว์เดียรัจฉานมีอานิสงส์น้อย เมื่อเทียบกับการทำบุญกับ เนื้อนาบุญอย่างพระภิกษุสงฆ์ อย่างนี้มีโอกาสจะต้องไปรับโทษทัณฑ์ในนรกได้ เรื่องการซักถามบุญบาป ของพญายมราชนี้ มีปรากฏใน เทวทูตสูตร นักศึกษาสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากพระสูตรดังกล่าว จ. ที่ตั้งและจำนวนของยมโลก จากบทที่ 1 นักศึกษาทราบแล้วว่า ยมโลก อยู่ใต้เขาตรีกูฏ ซึ่งเป็นที่รองรับเขาสิเนรุ และอยู่ ในระนาบเดียวกับอุสสทนรก ยมโลกเป็นบริวาร ของมหานรกทั้ง 8 ขุม ในมหานรกแต่ละขุม มี ยมโลกล้อมรอบทิศละ 10 ขุม ทิศเบื้องหน้า 10 ขุม ทิศเบื้องหลัง 10 ขุม ทิศเบื้องขวา 10 ขุม ทิศ เบื้องซ้าย 10 ขุม รวม 4 ทิศ เท่ากับ 40 ขุม รวม ยมโลกของมหานรกทั้ง 8 ขุม มีจำนวนทั้งหมด 320 ขุม ยมโลก 10 ขุม ในทิศหนึ่งๆ ของมหานรกทั้ง 8 ขุมนั้น มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามลักษณะ ยมโลก ยมโลก ยมโลก ชมโลก การทรมาน และมีชื่อเหมือนกันกับยมโลก 10 ขุม ในทิศอื่น และในขุมอื่นๆ ยมโลก 10 ขุม มีชื่อเรียก ดังนี้ 1. โลหกุมภีนรก 2. สิมพลีนรก 3. อสินบนรก 4. ตามโพทกนรก 5. อโยคุฬนรก ฉ.รายละเอียดของยมโลกแต่ละขุม 6. ปิสสกปัพพตนรก 7. ธุสนรก 8. สีตโลสิตนรก 9. สุนัขนรก 10. ยันตปาสาณนรก ต่อจากนี้ นักศึกษาจะได้ทำความเข้าใจยมโลกแต่ละขุม ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ขุมที่ 1 โลหกุมภีนรก โลหกุมภีนรก คือ นรกหม้อเหล็กร้อน มีลักษณะเป็นหม้อเหล็กขนาดใหญ่เท่าภูเขา เต็มไปด้วยน้ำ ร้อนเดือดพล่านอยู่ตลอดเวลา ตั้งอยู่บนเตา ไฟนรก กุมภัณฑ์จับสัตว์นรกที่ข้อเท้า 2 ข้างแล้วเอาหัวคว่ำลง หย่อนทิ้งลงไปในหม้อเหล็ก สัตว์นรกได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส บางครั้งนายกุมภัณฑ์ก็เอาเชือกเหล็ก แดงลุกเป็นเปลวไฟ ไล่กระหวัดรัดคอแล้วบิดจนกระทั่งคอขาด เอาศีรษะที่ขาดลงไปทอดในหม้อเหล็กแดง * เทวทูตสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 504-525 หน้า 189-201. ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 51
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More