ความหมายของวัยและกฎแห่งกรรมในพุทธศาสนา GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 24
หน้าที่ 24 / 180

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความหมายของวัยว่าเป็นช่วงที่เสื่อมไปและสิ้นไป โดยเฉพาะเมื่อถึงปัจฉิมวัย ความแก่จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน การเลือกเส้นทางชีวิตใหม่ในช่วงก่อนที่จะตายถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด และมีอิทธิพลต่ออนาคตหลังความตายว่าจะไปในสุคติหรือทุคติ โดยเนื้อหาได้พูดถึงกฎแห่งกรรมที่เป็นตัวกำหนดความแตกต่างของชีวิต เผยให้เห็นว่าผลกรรมเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างการกระทำและผลลัพธ์ในโลกหน้า นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อที่จะมีผลต่อการเดินทางสู่ปรโลก ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ มีการพูดถึงกรรมดีและกรรมชั่ว และผลของกรรมที่สามารถแบ่งออกเป็นวิบากที่มีเกณฑ์ที่แน่นอน

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของวัย
-บทบาทของกฎแห่งกรรม
-ความเชื่อในสุคติและทุคติ
-กระบวนการเกิดใหม่
-ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างนั้นว่า “วัย” หมายความว่า เสื่อมไป สิ้นไป หมดไป แต่เมื่อถึงปัจฉิมวัย ความแก่จึงปรากฏชัดเจน ถึงที่สุด ปกปิดไม่ได้อีกต่อไป จนในที่สุดก็ต้องแตกทำลาย คือ ตาย หรือบางคนก็ตายก่อนวัยอันควร ในช่วงก่อนที่มนุษย์จะหลับตาลาโลก กายมนุษย์ละเอียดจะถอดออกจากกายมนุษย์หยาบ เป็น ช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิต เพราะเป็นการเลือกเส้นทางของชีวิตใหม่ และเป็นการสรุปความ สำเร็จของการเกิดมาในชาตินี้ว่า ประสบความสำเร็จหรือไม่ เป็นศึกชิงภพครั้งยิ่งใหญ่ เป็นการสรุปงบดุล ชีวิต ชีวิตหลังความตายจะเป็นอย่างไร จะเกิดในสุคติภูมิ หรือทุคติภูมิ อยู่ที่ช่วงเวลาเสี้ยววินาทีนี้เอง 1.3.1 ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมมีผลต่อการเดินทางสู่ปรโลก กฎแห่งกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการเกิดใหม่หรือการเวียนว่ายตายเกิด หรือที่เรียกว่าสังสารวัฏ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ปัญหาเรื่องคนดีที่มีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน และคนชั่วบางคนมีชีวิตอยู่อย่างสุข สำราญ หรือปัญหาความแตกต่างของมนุษย์แต่ละคน ยังคงเป็นปัญหาที่ค้างคาใจอยู่ในมนุษย์ทุกหมู่เหล่า แม้วิทยาศาสตร์จะเจริญก้าวหน้าเพียงใด มีเครื่องมือที่ทันสมัย ก็ยังไม่สามารถค้นหาคำตอบที่ชัดเจนได้ แต่ในทางพุทธศาสตร์นั้นมีคำตอบมายาวนาน 2,000 กว่าปีแล้ว โดยการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า และนำมาตรัสแสดงให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายได้รับทราบว่า ความแตกต่างของสรรพสัตว์นั้น เกิดจาก กฎแห่งกรรม การที่บุคคลไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมนั้น มีผลเนื่องมาจาก ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า กฎแห่งกรรม เป็นสิ่งจำแนกความแตกต่างระหว่างมนุษย์ เพราะช่วงชีวิตของบุคคลหนึ่งนั้น สั้นเกินไป ไม่เพียงพอที่จะ พิสูจน์ผลของกรรมที่บุคคลทำไว้ได้ ในหัวข้อนี้จะแสดงให้เห็นว่า คนที่เชื่อกฎแห่งกรรมและไม่เชื่อกฎแห่งกรรมมีผลต่อการนำไปสู่ ปรโลกทั้งฝ่ายสุคติ และฝ่ายทุคติ ความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เป็นหนึ่งในสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ คือ เชื่อว่ากฎแห่งกรรมมีจริง คำว่า กรรม เป็นคำกลางที่ไม่ได้บอกลักษณะว่า ดีหรือชั่ว ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การ กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าดีหรือชั่ว ที่เกิดจากความตั้งใจของ ผู้กระทำ ถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น กรรมดี หมายถึง การกระทำที่ดีงามเหมาะสม ไม่ผิดศีล ไม่ผิดธรรม ไม่มีโทษ เช่น การทำทาน การสงเคราะห์หมู่ญาติ ส่วนกรรมชั่ว หมายถึง การกระทำที่ผิดศีล ผิดธรรม มีโทษ เช่น การฆ่าสัตว์ การ เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น การเกิดผลของกรรมทั้งดีและชั่วเรียกว่า วิบาก ซึ่งมีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัว ท่านจึงเรียกเกณฑ์ แห่งวิบากกรรมว่า กฎแห่งกรรม กฎนี้เป็นกฎเหล็กที่เที่ยงธรรมที่สุดในโลก ไม่ต้องมีการตีความใดๆ เป็น กฎที่ว่าด้วยเรื่องเหตุเรื่องผล ถ้าใครเชื่อเหตุผล คนนั้นจะต้องเชื่อกฎแห่งกรรม สาระสำคัญของกฎแห่งกรรม คือ ทำดีย่อมได้รับผลดี ทำชั่วย่อมได้รับผลชั่ว ดังธรรมภาษิตใน จุลลนันทิยชาดก" ที่ว่า 'จุลลนันทิยชาดก, ขุททกนิกาย ชาดก, มก. เล่ม 57 ข้อ 294 หน้า 389. 14 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More