ข้อความต้นฉบับในหน้า
กับเหล่าภิกษุฟังใน พาลบัณฑิตสูตร ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลนั้น ประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เมื่อเขาตาย
ไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก สถานที่เหล่านี้ เป็นดินแดนที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
น่าพอใจอะไรเลย เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว แม้จะเปรียบเทียบอุปมาถึงความทุกข์ในนรก ก็มิใช่
สิ่งที่จะทำได้โดยง่าย”
พระภิกษุรูปหนึ่งจึงทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “พระองค์พอจะอุปมาความทุกข์ในนรก ให้
ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ทราบบ้างได้ไหม พระเจ้าข้า” พระพุทธองค์ทรงรับคำ แล้วอธิบายให้ฟังว่า
“เปรียบเสมือนพวกราชบุรุษจับโจรมาได้ โจรนี้คิดร้ายต่อราชบัลลังก์ พอจับได้แล้ว
ตอนเช้าก็นำมาให้พระราชาพร้อมกับกราบทูลถึงพฤติกรรมของโจรนั้นว่า โจรผู้นี้ คิดร้าย ก่อกบฏ
ขอพระองค์ได้ทรงลงโทษตามพระราชหฤทัยเถิด พระราชาทรงรับสั่งว่า ให้เอาหอก 100 เล่ม
แทงโจรนี้ให้ทั่วตัว พวกราชบุรุษก็ทำตามบัญชา พอถึงกลางวันพระราชาตรัสถามว่า โจรกบฏ
คนนั้นน่ะ ตายแล้วหรือยัง เมื่อได้รับคำตอบว่ายัง ก็รับสั่งให้เอาหอกมาแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม
พวกราชบุรุษก็ทำตาม พอตกเย็นยังไม่ตายอีก จึงให้เอาหอกไปแทงเพิ่มอีก 100 เล่ม รวมเป็น
300 เล่ม โจรก็ยังไม่ตายอยู่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โจรโดนหอกแทงมากถึง 300 เล่ม จะเจ็บ
ปวดทรมานมากแค่ไหน”
พวกภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพียงแค่หอกเล่มเดียว ก็เป็นทุกข์มากแล้ว จะ
กล่าวไปไยกับหอกถึง 300 เล่ม” พระบรมศาสดาตรัสต่อว่า
“ความทุกข์จากการถูกหอกแทง 300 เล่ม เมื่อเทียบกับทุกข์ในมหานรกแล้ว เทียบกัน
ไม่ได้เลย ทุกข์ในนรกเจ็บปวดทรมานมากกว่าเป็นร้อยเป็นพันเท่า ความทุกข์ของคนที่ถูก
หอก 300 เล่มแทง มีปริมาณความเจ็บปวดเหมือนก้อนหินเล็กๆ ก้อนหนึ่ง แต่ทุกข์ในมหานรก
มีปริมาณมากเหมือนเขาพระสุเมรุทีเดียว”
จากพระดำรัสนี้ เราจะเห็นได้ว่า การเสวยวิบากกรรมในนรกนั้น เป็นทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เพียงไร ทุกข์ในเมืองมนุษย์เทียบเท่าไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นอย่ากระทำการใดๆ ที่เสี่ยงต่อการถูกทรมานใน
มหานรกนี้เลย
ฉ. รายละเอียดของมหานรกแต่ละขุม
ในลำดับต่อไป นักศึกษาจะได้ทำความรู้จักนรกทั้ง 8 ขุม ตามลำดับดังต่อไปนี้
ขุมที่ 1 สัญชีวมหานรก
สัญชีวมหานรก หมายถึง มหานรกที่ไม่มีวันตาย นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมแรกที่อยู่ใต้เขาตรีกูฏ มี
ขนาดเล็กที่สุดในบรรดามหานรกทั้งหมด
พาลบัณฑิตสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 472-474 หน้า 150-151.
38 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า