การประพฤติอกุศลกรรมและผลกระทบในโลกหลังความตาย GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 76
หน้าที่ 76 / 180

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับผลของการประพฤติอกุศลกรรมซึ่งนำไปสู่การเกิดในโลกเปรตและนรก โดยแบ่งกลุ่มของกรรมตามความรุนแรง และการละเมิดพระธรรมวินัยที่อาจนำไปสู่การเสวยทุกข์ในภายหลัง การตั้งพฤติกรรมและแนวทางปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการประพฤติเข้าสู่โลกที่เต็มไปด้วยความทุกข์นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาให้มากขึ้น โดยเฉพาะในเวลาอยู่ในมนุษย์โลกนี้

หัวข้อประเด็น

-อกุศลกรรมและผลกระทบ
-การเกิดเป็นเปรต
-การพิจารณาตนในพระพุทธศาสนา
-การหลีกเลี่ยงทางชั่วร้าย
-โลกหลังความตายและการตัดสินใจต่อกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อผู้ใดประพฤติอกุศลกรรมบถ 10 ประการนี้ ผู้นั้นชื่อว่านำตนเดินไปตามปฏิปทาทางไปสู่โลก เปรตแล้ว และเมื่อเขาขาดใจตายไปจากมนุษยโลกนี้ หากว่าอกุศลกรรมนั้น สามารถนำเขาไปสู่นิรยภูมิ คือ โลกนรกได้ เขาก็จักต้องไปเสวยทุกข์โทษอยู่ในนรกก่อน พอสิ้นกรรมพ้นจากนรกแล้ว เศษบาปยังมี จึงจะ ไปเกิดเป็นเปรตต่อในภายหลัง นี้จำพวกหนึ่ง อีกจำพวกหนึ่งนั้นมีอกุศลกรรมบางเบา ไม่ถึงขั้นที่จะต้องตกนรกก็ไม่ต้องไปผ่านแดนนรก แต่จะ ตรงไปเกิดในโลกเปรตเลยทันที ซึ่งในกรณีหลังนี้มีข้อที่ควรจะทราบไว้ ดังต่อไปนี้ เมื่อมนุษย์ผู้มีจิตไม่บริสุทธิ์ ประพฤติอกุศลกรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นการนำตนให้เดินไปตามปฏิปทา ทางไปสู่เปตติวิสัยแล้ว ในขณะที่จะขาดใจตายจากมนุษย์ไปผุดเกิดเป็นเปรตนั้น ย่อมจะมีเหตุการณ์อัน แสดงว่าตนจักได้ไปเกิดเป็นเปรตแน่ๆ คือ คตินิมิต ซึ่งบ่งบอกถึงคติแห่งโลกเปรตที่ตนจักต้องไปเกิด เช่น บางทีให้เห็นเป็นหุบเขาหรือถ้ำอันมืดมิด เป็นสถานที่เงียบวิเวกวังเวงและปลอดเปลี่ยว บางทีให้เห็นเป็น แกลบและข้าวลีบมากมาย ให้รู้สึกหิวโหยอาหารและกระหายน้ำเป็นกำลัง บางทีให้เห็นเป็นน้ำเลือดน้ำ หนองน่ารังเกียจสะอิดสะเอียนเป็นยิ่งนัก และให้เห็นไปว่าตนได้ดื่มกินน้ำเลือดน้ำหนองเหล่านั้นเป็นอาหาร ภาพเหล่านี้มาปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนแจ่มใสในมโนทวารคือทางใจ จิตยึดเหนี่ยวไว้เป็นอารมณ์ เมื่อดับจิตตายลงไปในขณะนั้น ก็น้อมนำไปเกิดในทุคติภูมิ คือ เกิดเป็นเปรต ต้องเสวยทุกขเวทนาตาม สมควรแก่กรรมชั่วที่ตนได้ทำไว้ เพราะคตินิมิตเหล่านี้เป็นเครื่องชี้ให้รู้ว่า เขาผู้นั้นจะต้องไปเกิดเป็นเปรต อย่างแน่นอน และเมื่อเขาได้ไปเกิดเป็นเปรตแล้ว เป็นอันแสดงว่า บัดนี้ เขาผู้ประพฤติอกุศลกรรม ซึ่งนำ ตนเดินไปตามปฏิปทา ทางไปสู่เปรตอสุรกาย ได้บรรลุถึงถิ่นที่ต้องไปอย่างเที่ยงแท้แล้ว สรุปสาระสำคัญของเปตติวิสยภูมิ เปตติวิสัยภูมินั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเปรียบเทียบไว้ว่า เหมือนกับต้นไม้ในพื้นที่อันไม่เสมอ มีใบอ่อนและใบแก่ โปร่งเบา มีร่มเงาอันโปร่ง เป็นสถานที่ที่ไม่น่ารื่นรมย์ เพราะแห้งแล้งเต็มไปด้วยความ ทรมาน เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งประพฤติอกุศลกรรมนำชีวิตของตนไปในทางอกุศลกรรม ผู้นั้นชื่อว่านำตน ไปสู่ปฏิปทาทางไปสู่ต้นไม้อันหาความสุขสบายมิได้ คือ เปตติวิสัยภูมินั้นอย่างแน่นอน นักศึกษาลองย้อนกลับมานึกถึงตัวเราบ้าง เราท่านทั้งหลาย ผู้มีโชคดีเกิดมาเป็นมนุษย์ พบ พระพุทธศาสนาในชาตินี้ เมื่อได้รับฟังคำชี้แจงคำบอกเล่าจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่ง พระญาณอันวิเศษสุดของเราเช่นนี้แล้ว การที่จะงมงายประพฤติอกุศลกรรมอันเป็นบาปหยาบช้าลามก ทั้งหลายไปด้วยความดื้อรั้น เพราะอำนาจแห่งทิฏฐิมานะ ไม่เชื่อมั่นในคำของพระพุทธองค์ แล้วเดินทาง เซซังไปสู่ดินแดนแห่งต้นไม้แห้งโกรุ่น ที่มีแต่ความแห้งแล้งทรมาน คือ แดนเปรตอสุรกายนั้น ย่อมเป็นการ ไม่สมควร ดังนั้น ควรนำตนหลีกออกจากทางอันชั่วช้าเลวทรามนั้นเสียโดยรวดเร็ว ก่อนที่เราจะลาจากโลกนี้ไป 2.3 อสุรกายภูมิ เมื่อนักศึกษาได้ทำความรู้จักกับเปรตกันไปแล้ว ยังมีสัตว์อีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจ และมี ลักษณะคล้ายคลึงกับเปรตมาก คือ อสุรกาย จนบางครั้งทำให้เราเข้าใจสับสนจนไม่สามารถแยกแยะได้ว่า 66 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More