ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. อปทติรัจฉาน คือ จําพวกเดียรัจฉานที่ไม่มีขาเลย ได้แก่ ปลา งู ไส้เดือน เป็นต้น
2. ทวิปทติรัจฉาน คือ จําพวกเดียรัจฉานที่มี 2 ขา ได้แก่ นก เป็ด ไก่ เป็นต้น
3. จตุปปกติรัจฉาน คือ จำพวกเดียรัจฉานที่มี 4 ขา ได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ เป็นต้น
4. พหุปปกติรัจฉาน คือ จำพวกเดียรัจฉานที่มีขามาก ได้แก่ กุ้ง แมงมุม ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้น
ในเรื่องการแยกประเภทของสัตว์นั้น นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถแยกได้อีกหลายแบบ แล้วแต่
หลักการและการนำไปใช้งาน เช่น แยกเป็น 2 ชนิด เป็นสัตว์บก สัตว์น้ำ หรือ 3 ชนิด เช่น สัตว์บก สัตว์น้ำ
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ แต่จากข้อความที่กล่าวมาข้างต้น ใช้หลักการแยกชนิดจากจำนวนขาของสัตว์ ซึ่งก็
ถ้านักศึกษาปรารถนาที่จะจำแนกประเภทของสัตว์ที่เห็นอยู่ทั่วไป
เป็นวิธีการแยกประเภทที่ง่ายมาก
นักศึกษาก็สามารถทำได้ไม่ยาก โดยอาศัยหลักการนี้จัดกลุ่มของสัตว์ได้
2.4.4 เหตุที่ทำให้เกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน
เหล่าสัตว์ที่มาเกิดในติรัจฉานภูมินี้ เพราะอำนาจแห่งเศษบาปอกุศลที่ตนได้กระทำไว้แต่ปางก่อน
ส่วนใหญ่มาจากกิเลสตระกูลโมหะ คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริง เช่น หลงยึดติดกับบุคคล หรือทรัพย์
สมบัติ เมื่อจิตผูกพันกับทรัพย์ กับบุคคล ครั้นละโลกแล้วก็มีโอกาสเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานเฝ้าสมบัติอยู่ใน
ที่นั้นได้
อีกพวกหนึ่ง เพราะเคยทำอกุศลกรรมไว้ในชาติก่อน ได้รับผลแห่งกรรมชั่วในนรก เมื่อพ้นกรรม
จากนรกแล้ว เศษกรรมก็นำให้มาเป็นสัตว์เดียรัจฉาน หรือบางพวกเมื่อใช้กรรมในนรกแล้ว ต้องไปเกิดเป็น
เปรตและอสุรกายก่อน เมื่อเศษกรรมเบาบางลงจึงมาเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน และมักจะเกิดเป็นเดียรัจฉาน
ซ้ำๆ อยู่หลายชาติ เป็นชนิดเดิมบ้าง บางทีก็เปลี่ยนชนิด มีโอกาสทำกุศลกรรมน้อยมาก
ถึงแม้จะมีโอกาสทำกุศลได้น้อย แต่นับว่าโชคดีกว่าอบายภูมิทั้ง 3 ชั้น คือ นรก เปรต อสุรกาย
ที่ไม่มีโอกาสได้ทำกุศล โอกาสในการทำกุศลแม้เพียงนิด แต่ยังพอเป็นความหวังให้ได้เกิดใหม่ในสุคติภูมิได้
ดังตัวอย่างในสมัยพุทธกาล เรื่องนางสามาวดี ซึ่งขอนำเสนอโดยสรุปย่อดังนี้
ครั้งหนึ่ง ก่อนพระศาสดาของเราจะมาบังเกิด มีชายคนหนึ่ง มีอาชีพเป็นคนเลี้ยงโค เขาได้เลี้ยง
สุนัขไว้ตัวหนึ่ง สุนัขนี้เป็นสุนัขแสนรู้ ชายผู้นี้มีความเลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงได้นิมนต์ท่านมาฉัน
ภัตตาหารในเรือนของตนเป็นประจำ ในภายหลังชายคนนี้ไม่สะดวก จึงส่งสุนัขนี้ไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า
เพื่อเป็นสัญญาณว่า ให้ไปฉันในเรือนของตน สุนัขนี้ก็จะนำทาง และช่วยไล่สัตว์ร้ายในระหว่างทาง ในกาล
ต่อมาใกล้ฤดูกาลเข้าพรรษา พระปัจเจกพุทธเจ้ามารับบาตร คนเลี้ยงโคได้ถวายผ้าสำหรับทำผ้าไตรได้ 3 ผืน
และกล่าวกับพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า “ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านชอบใจ ก็โปรดอยู่เสียในที่นี้นี่แหละ แต่ถ้าไม่ชอบใจ
ก็โปรดไปได้ตามสบาย” พระปัจเจกพุทธเจ้ามีทีท่าว่าจะไป คนเลี้ยงโคจึงไปส่ง สุนัขนี้รู้ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้า
จะไป ก็ตามไปส่งพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เหาะไปจบลับสายตา เนื่องจากสุนัขมีความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก
จึงเห่าหอนด้วยความรักจนขาดใจตาย เมื่อตายแล้วก็ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 71