ข้อความต้นฉบับในหน้า
การบำเพ็ญบารมีของท่านผู้รู้เหล่านี้ มีระยะเวลาไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะเนื่องด้วยความปรารถนา
คุณธรรมที่ต้องการบรรลุมีความยิ่งหย่อนกว่ากัน คือ
1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญคุณความดีโดยเอาชีวิตเป็นเดิมพันอย่างยิ่งยวด ใช้ระยะ
เวลาอย่างน้อย 4 อสงไขย กับอีกแสนมหากัป อย่างสูงสุด 16 อสงไขย กับอีกแสนมหากัป แล้วแต่
ประเภทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อต้องการขนสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร ไปสู่นิพพานให้ได้
มากที่สุด จึงต้องเตรียมการมาก ทำให้พระองค์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมทุกอย่าง
2. พระปัจเจกพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญคุณความดีอย่างยิ่งยวดใช้เวลา 2 อสงไขยกับอีกแสนมหากัป
เพื่อต้องการตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง แต่มิได้ขนสรรพสัตว์เข้าสู่นิพพาน จึงเป็นผู้มีคุณธรรมรองจาก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3. พระอัครสาวกซ้ายขวา ต้องบำเพ็ญคุณความดีอย่างยิ่งยวดใช้เวลา 1 อสงไขยกับอีกแสน
มหากัป ตรัสรู้ตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อช่วยพระพุทธองค์ในการขนสรรพสัตว์เข้าสู่นิพพาน มีคุณธรรม
รองจากพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่มีมากกว่าปกติสาวก เพราะต้องทำคุณประโยชน์มากกว่า
4. พระอรหันตสาวกปกติ เช่น พระอสีติมหาสาวก เอตทัคคะผู้เป็นเลิศด้านต่างๆ พระอรหันต์
ทั่วไป ต้องบำเพ็ญคุณความดีอย่างยิ่งยวดใช้เวลาแสนมหากัป เพื่อความเป็นเลิศด้านต่างๆ บ้าง เพื่อกล่าว
สอนผู้อื่นบ้าง เพื่อตรัสรู้เฉพาะตนบ้าง
คุณความดีอย่างยิ่งยวดที่ท่านผู้รู้เหล่านั้นบำเพ็ญมาในอดีตเพื่อเตรียมไปนิพพานคือบารมี 10 ได้แก่
ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี(การเว้นจากกาม) ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี
อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ที่ว่าทำความดีอย่างยิ่งยวดนั้น หมายถึง การทำความดี
ชนิดที่สามารถสละอวัยวะหรือชีวิตได้ ที่เรียกว่า ทำความดีแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ในที่นี้จะไม่ขอจำแนก
รายละเอียดไว้ ผู้ใฝ่ศึกษาจึงหาอ่านได้จากตำราพุทธศาสน์ที่มีผู้รู้เขียนไว้แล้วได้ทั่วไป
คุณความดีอย่างยิ่งยวดทั้งหมดนี้ เป็นการทำความดีอย่างเป็นระบบแล้ว หลังจากที่ได้รับพุทธ
พยากรณ์ แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่ยังไม่มุ่งจะไปนิพพานเต็มที่นัก แต่ก็ควรเตรียมตัวดังนี้
1. ให้ยึดมั่นและหมั่นระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นผู้ใคร่เห็น
พระภิกษุสงฆ์ และเข้าไปหาภิกษุผู้ปฏิบัติเห็นจริง ฟังธรรมคำแนะนำจากท่าน
2. เว้นความชั่ว และลืมอดีตที่ผิดพลาดทั้งปวง
3. หมั่นทำความดีทุกรูปแบบที่มาถึง อย่างน้อย คือ หมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนาตาม
วิธีที่ถูกต้องประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องสั่งสมบุญไว้ในพระพุทธศาสนา และทักขิไณยบุคคล คือ ภิกษุ
สงฆ์ และให้อธิษฐานทุกครั้งว่า
“ขอบุญกุศลที่ข้าพเจ้าทำในครั้งนี้ จงเป็นไปเพื่อการบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ”
4. หมั่นทำใจให้หยุดนิ่งจนเข้าถึงนิพพานปัจจุบัน(โดยอ้อม) ถ้าสามารถปฏิบัติได้เพียงเท่านี้ เราก็
มีสิทธิ์ที่จะเข้าถึงนิพพานในปัจจุบัน อันจะทำให้เกิดฉันทะอุตสาหะที่จะทำความดีอย่างยิ่งยวดเพื่อมุ่งไปสู่
นิพพานโดยตรงต่อไป
ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 167