ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความน่า
บทที่ 6
อรูปพรหมภูมิ
อรูปพรหมภูมิ เป็นสถานที่อยู่ของอรูป
พรหมซึ่งเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ได้เจริญภาวนาจน
กระทั่งทำอรูปฌานให้บังเกิดขึ้นได้ เมื่อละโลก
แล้วจึงมาบังเกิดเป็นอรูปพรหมอยู่ในชั้นต่างๆ ตาม
กำลังความแก่อ่อนของฌานของตน อรูปภพมี
ทั้งหมด 4 ชั้น มีทิพยสมบัติทั้งหลายที่ละเอียด
อรูปพรหมภูมิ
ประณีตมากกว่าในรูปภพหลายเท่า อรูปพรหมที่
อยู่ในแต่ละชั้นมีรัศมีกายที่สว่างไสวมากน้อยแตกต่างกัน
อรูปพรหมที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าจะมีรัศมีกายที่
สว่างและประณีตมากกว่าในชั้นล่าง อายุของอรูปพรหมที่อยู่ในชั้นที่สูงกว่าก็จะยาวนานกว่าในชั้นล่าง
6.1 ความหมายของคำว่า อรูปพรหมภูมิ
อรูปพรหมภูมิ คือ ภพอันเป็นที่อยู่ของอรูปพรหม อยู่ในภูมิที่สูงขึ้นไปกว่ารูปภพ กล่าวคือ สูง
กว่าอกนิฏฐสุทธาวาสภูมิขึ้นไปอีกห้าล้านห้าแสนแปดพันโยชน์ ทั้งยังมีทิพยสมบัติทั้งหลายที่มีความ
สวยงามประณีตกว่าในรูปภพมากมายหลายเท่า
อรูปพรหม คือ พรหมที่ไม่ใช่รูปพรหม มีกายอันสวยงาม ประณีต ละเอียด สว่างไสวกว่ารูปพรหม
อุบัติขึ้นเพราะเหตุแห่งการบำเพ็ญอรูปฌานกุศล ฌานที่บังเกิดขึ้นเรียกว่าอรูปฌาน เป็นฌานที่เกิดขึ้นจาก
การเจริญภาวนา โดยมิได้สนใจเพ่งนิมิตที่เป็นรูปเป็นอารมณ์แต่ประการใด กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ได้ก้าวล่วง
อารมณ์ที่เป็นรูปกรรมฐานได้แล้ว เมื่อฌานเกิดขึ้นจึงเป็นฌานที่ปราศจากรูปเป็นอารมณ์ เรียกว่า อรูปฌาน
เป็นฌานที่มีความมั่นคงไม่หวั่นไหว เมื่อตายลงในขณะที่ฌานยังไม่เสื่อมย่อมบังเกิดในอรูปภพ พรหมชนิดนี้
จัดว่าเป็นอภัพพสัตว์ ไม่สามารถมาตรัสรู้หรือพ้นจากทุกข์ได้ในชาตินั้น อนึ่ง อสัญญีสัตตาพรหมก็จัดเป็น
อภัพพสัตว์เช่นเดียวกัน
6.2 ระดับชั้นของอรูปพรหม
เราได้ทราบแล้วว่า การมาบังเกิดเป็นอรูปพรหมนั้น จะต้องเป็นผู้ที่ใฝ่ใจในการประพฤติปฏิบัติธรรม
อย่างสม่ำเสมอ จนกระทั่งกระทำอรูปฌานให้เกิดขึ้นได้ เมื่อละโลกแล้วก็จะไปบังเกิดเป็นอรูปพรหม
ในบรรดาอรูปพรหมทั้งหลายยังมีการแบ่งระดับชั้นตามภูมิที่อยู่ซึ่งมีทั้งหมด 4 ชั้น มีหลักการแบ่งชั้น
คือ แบ่งตามระดับความแก่อ่อนของกำลังฌาน อรูปพรหมที่มีกำลังฌานอ่อน จะอยู่ในชั้นล่าง ส่วนอรูปพรหม
ที่มีกำลังฌานแก่ จะอยู่ในชั้นที่สูงขึ้นไป ดังนี้
138 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า