ข้อความต้นฉบับในหน้า
ด้วยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลที่แจ่มแจ้งด้วยตัวของเราเอง แม้ยังไม่สำเร็จในชาตินี้ ก็จะ
เป็นอุปนิสัยติดไปในชาติเบื้องหน้า ไม่มีอะไรเสียเปล่าเลย
8.3. ความหมายของนิพพาน
ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องกับนิพพานมีอยู่หลายคำ อาจจะเกิดข้อกังขาที่ทำให้เข้าใจสับสนได้ โดยเฉพาะ
ในพระไตรปิฎกมีความหมายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้หลายนัยด้วยกัน และอรรถถาจารย์ได้ให้
ความหมายเพิ่มเติม ซึ่งจะขอยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความหมายของนิพพานได้ในหลาย
แง่มุมมากขึ้น
ก. ความหมายตามพระบาลีในพระไตรปิฎก คือ
ความหมายที่ 1 ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า ธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ
ความหมายที่ 2 เพราะละตัณหาเสียได้ขาด จึงเรียกว่า นิพพาน
ความหมายที่ 3 ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน
ความหมายที่ 4 อนุปาทาปรินิพพาน แปลว่า ความดับสนิทสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ คือ ความพ้น
พิเศษแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น
ความหมายที่ 5 ยากที่จะเห็นได้ซึ่งฐานะแม้นี้ คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา คลายความกำหนัด ดับทุกข์
ข. ความหมายตามอรรถกถา
ความหมายที่ 1 พระนิพพาน ท่านเรียกว่า โพธิ
ความหมายที่ 2 นิพพาน ชื่อว่า วิมุตติ เพราะพ้นแล้วจากสังขตธรรมทั้งปวง
ความหมายที่ 3 พระนิพพาน ชื่อว่า สุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ เพราะว่างเปล่าจาก
ราคะ เป็นต้น และเพราะไม่มีราคะเป็นต้น เป็นเครื่องหมาย และเป็นที่ตั้งอาศัย
จากความหมายทั้งในพระบาลีและในอรรถกถา สามารถสรุปความหมายของนิพพานได้ดังนี้
นิพพาน หมายถึง ความสงบ ว่างเปล่าจากขันธ์ห้าและกิเลสอาสวะอันเป็นเหตุแห่งทุกข์
ทั้งปวง จากความหมายนี้ บ่งบอกความว่า ธรรมชาติใดที่ไม่มีขันธ์ห้า และไม่มีกิเลสอาสวะตัณหา ธรรมชาติ
*ทุติยภิกขุสูตร, สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, มก. เล่ม 30 ข้อ 31 หน้า 22.
*สัญโญชนสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 185 หน้า 288,
* นิพพานปัญหาสูตร, สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค, มก. เล่ม 29 ข้อ 497 หน้า 88.
จูฬสงคราม, พระวินัยปิฎก ปริวาร, มก. เล่ม 10 ข้อ 1084 หน้า 689-690.
โพธิราชกุมารสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 21 ข้อ 509 หน้า 119.
*เวรัญชกัณฑวรรณนา, ปฐมสมันตปาสาทิกาแปล พระวินัยปิฎก, มก. เล่ม 1 หน้า 240.
7 สัจฉิกาตัพพนิทเทส, อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, มก. เล่ม 68 หน้า 396.
อรรถกถาสังคีติสูตร, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มก. เล่ม 16 หน้า 321.
ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 159