การเข้าใจนิพพานในพระพุทธศาสนา GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 171
หน้าที่ 171 / 180

สรุปเนื้อหา

ในพระพุทธศาสนา นิพพานแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ สอุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งหมายถึงสถานะที่ยังมีเบญจขันธ์อยู่ และอนุปาทิเสสนิพพานซึ่งไม่มีเบญจขันธ์เหลือ เป็นการดับกิเลสอย่างสมบูรณ์ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ได้อธิบายถึงนิพพานว่าเป็นอายตนะที่สูงกว่าทั้งโลกายตนะและอายตนะอื่น โดยอายตนะนิพพานทำหน้าที่ดึงดูดพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เข้าไปสู่นิพพาน สรุปว่า อนุปาทิเสสนิพพานคือสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในที่ที่พ้นจากกิเลส และสอุปาทิเสสนิพพานคือผู้ที่ยังอยู่ในภาวะที่มีความผูกพันกับกิเลส

หัวข้อประเด็น

-อนุปาทิเสสนิพพาน
-สอุปาทิเสสนิพพาน
-นิพพานในพระพุทธศาสนา
-การดับกิเลส
-พระมงคลเทพมุนี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กายทิพย์ และกายมนุษย์เป็นลำดับเช่นนี้ ยังอยู่ในกลางของกายที่ยังหมกมุ่นครองกิเลสอยู่ ตามสภาพของกายนั้นๆ ความบริสุทธิ์ของนิพพานที่อยู่ในท่ามกลางกิเลสเหล่านี้เอง ที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน” 2. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ นิพพานไม่มีเบญจขันธ์เหลือ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับ เบญจขันธ์ หมายถึง ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์เมื่อสิ้นชีวิต ตรงกับคำที่ คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า ขันธปรินิพพาน (ดับขันธ์ 5 สิ้นเชิง) ในภาคปฏิบัติ พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) ได้กล่าวไว้ในคู่มือสมภารว่า (โดยย่อ) ดังนี้ “นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง ซึ่งแตกต่างออกไปจากโลกายตนะและอายตนะทั้ง 6 ทั้ง 12 นั้น เป็นอายตนะที่สูงกว่าวิเศษกว่า และประณีตกว่าอายตนะอื่น แต่ก็ทำหน้าที่ใน ลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ โลกายตนะทำหน้าที่ดึงดูดสัตว์โลกที่ยังมีความผูกพันอยู่กับโลกไว้ ไม่ให้พ้นไปจากโลกได้ ส่วนอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ทำหน้าที่ดึงดูด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ตามหน้าที่ของตนๆ และในทำนองเดียวกัน อายตนะนิพพานก็มีหน้าที่ ดึงดูดพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เข้าไปสู่อายตนนิพพาน” ข้อสรุปในส่วนของภาคปฏิบัติมีดังนี้ อนุปาทิเสสนิพพาน คือ สถานอันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า เรียกว่า อายตนนิพพาน ส่วนสอุปทิเสสนิพพาน คือ พระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในอายตนนิพพานนั้น เรียกว่า พระนิพพาน (คือพระธรรมกายที่ประทับอยู่ ณ อายตนะนั้น) เพื่อความแจ่มชัดยิ่งขึ้นไป และเพื่อให้นักศึกษาได้พิจารณาด้วยตนเอง จะนำข้อความตามบาลี เกี่ยวกับประเภทของนิพพานใน ธาตุสูตร มากล่าวไว้ดังนี้ “จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ 2 ประการนี้ 2 ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ 1 อนุปาทิเสส นิพพานธาตุ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระ อรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อม เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ 5 เหล่าใด เป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ 5 เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ธาตุสูตร, ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 ข้อ 222 หน้า 304 ป ร โ ล ก วิ ท ย า DOU 161
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More