ความหมายและคุณวิเศษของพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา GL 102 ปรโลกวิทยา หน้า 160
หน้าที่ 160 / 180

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอความหมายของอรหัตโลกุตรภูมิซึ่งเป็นภูมิที่พ้นจากภพ 3 และมีความเกี่ยวข้องกับพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา โดยอธิบายถึงคุณวิเศษของพระอรหันต์ที่สามารถกำจัดกิเลสที่เหลืออยู่และละสังโยชน์สูงสุดได้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีการแบ่งประเภทของพระอรหันต์ออกเป็น 2 ประเภทคือ เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ ซึ่งต่างก็ใช้วิธีการหลุดพ้นจากกิเลสที่แตกต่างกัน บทความนี้ช่วยให้เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนาได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เนื้อหาสอดคล้องกับพระสูตรที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของอรหัตโลกุตรภูมิ
-คุณวิเศษของพระอรหันต์
-ประเภทของพระอรหันต์
-การบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.5.1 ความหมายของอรหัตโลกุตรภูมิ อรหัตโลกุตรภูมิ คือ ภูมิที่พ้นจากภพ 3 ของผู้ควรแก่การบูชา หมายความว่า ผู้ที่เข้าถึงภูมินี้แล้ว ย่อมได้ชื่อว่า เป็นพระอรหันต์ เป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุด ในพระพุทธศาสนา เป็นผู้ควรแก่การบูชา ในภาคปฏิบัติ การเจริญภาวนาเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ ขยายความในส่วนนี้ว่า หมายถึง ภาวะที่เข้าถึงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระธรรมกายอรหัต ซึ่งมีอยู่ ภายในกลางกายของทุกคน 7.5.2 คุณวิเศษของพระอรหันต์ พระอรหันต์ทั้งหลายท่านมีคุณธรรมและคุณวิเศษ สามารถกำจัดกิเลสที่ยังเหลือติดอยู่ในสันดาน ได้หมด และสามารถละสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ชนิด คือ 1. รูปราคะ คือ ความพอใจในรูปฌานหรือรูปภพ 2. อรูปราคะ คือ ความพอใจในอรูปฌานหรืออรูปภพ 3. มานะ คือ ความถือตัว 4. อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต 5. อวิชชา คือ ความไม่รู้สภาพความเป็นจริงของธรรม ดังนั้น คุณวิเศษของพระอรหันต์ คือ สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำ สังโยชน์เบื้องสูงได้หมดสิ้น ไม่เหลือเศษ เป็นพระอริยบุคคลที่ควรบูชาอย่างยิ่งในพระพุทธศาสนา 7.5.3. ประเภทของพระอรหันต์ พระอรหันต์ผู้เป็นอริยบุคคลอันสูงสุดในพระพุทธศาสนานั้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ประเภทที่ 1 เจโตวิมุตติ คือ การหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยอำนาจสมถะนำหน้าในการบรรลุธรรม ประเภทที่ 2 ปัญญาวิมุตติ คือ การหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยอำนาจวิปัสสนานำหน้าในการบรรลุธรรม สมดังพุทธวจนะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ใน มหามาลุงกยโอวาทสูตร ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ามรรคนี้ ปฏิปทานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร ภิกษุบางพวกในพระศาสนานี้ จึงเป็นเจโตวิมุตติ บางพวกเป็น ปัญญาวิมุตติเล่า. ดูก่อนอานนท์ ในเรื่องนี้ เรากล่าวความต่างกันแห่งอินทรีย์ ของภิกษุเหล่านั้น” จากพระสูตรนี้ แสดงให้ทราบถึงขั้นตอนของการบรรลุธรรมของพระอรหันต์ 2 ประเภท ต้องผ่าน ขั้นตอนของการทำสมถะในที่นี้คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 3 เหมือนกัน แต่ที่จัดเป็น 2 ประเภทเพราะ 1 มหามาลุงกยโอวาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 159 หน้า 314-315. 150 DOU ป ร โ ล ก วิ ท ย า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More